เป็นเวลา 11 ปี ระหว่างเวลาที่ แมรี่ เบิร์ก ไพรซ์ ผู้จัดการศูนย์การศึกษาศิษยาภิบาล หลุยส์เวล เคนตัคกี้ ที่ โรงพยาบาล ที่ซึ่งเธอให้กำเนิดลูกของเธอ และเป็นที่ซึ่งเรื่องราวของการตาย ได้เข้ามาเยือนชีวิตเธอ แต่ทั้งสองเรื่องกลับทำให้เธอกลายเป็น ”โปรแตสแตนท์นิกายแบตติสที่ศรัทธาแม่พระ” (Marian Baptist) ตัว เบิร์ก ไพรซ์ นั้นเติบโตมาโดยไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องของพระนางมารีย์เลย แต่ในปี 1987 ในวันคริสต์มาสอีฟ เธอประสบปัญหาการคลอดยากที่มีความเสี่ยงสูงมาก การคลอดเป็นไปอย่างยากลำบาก แต่ในเวลาต่อมา เธอกำลังนั่งกล่อมทารกวัย 4 เดือนของเธออยู่ที่ม้านั่งในโบสถ์ที่เธอไปประจำในหลุยส์เวล เธอสัมผัสประสบการณ์นั้นทั้งหมด และ ตระหนักด้วยตัวเองว่าการตั้งครรภ์ของพระนางมารีย์นั้นเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์มาก เช่นเดียวกับเรื่องการประสูติของพระเยซ

ในปี 1998 เพื่อนสนิทของเธอเสียชีวิตลงจากอุบัติเหตุเครื่องบินตก เบิร์ค ไพรซ์ ได้เดินทางไปที่ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วยชนบท ที่ดำเนินงานโดยสมาชิกคาทอลิกท้องถิ่นที่อาศัยอยู่แถบนั้น ในคืนหนึ่งขณะที่เธอกำลังเดินร้องไห้สะอื้นคร่ำครวญ ภาวนา และ ถามด้วยความสงสัยในใจว่า “ทำไม” อยู่นั้น เธอพบตัวเองอีกทีอยู่เบื้องหน้ารูปปั้นหินอ่อนขนาดใหญ่ของพระนางมารีย์ที่อยู่ติดกับโรงนา พระหัตถ์ทั้งสองข้างของพระนางแผ่ขยายออก ขณะที่พระพักตร์ของพระนางมองลงมาเบื้องล่าง ก้มลงมามองเธอ กับความรู้สึกเมตตาสงสารอันยิ่งใหญ่ที่เธอสามารถสัมผัสได้จากพระนาง

“ตอนนั้นฉันตระหนักขึ้นมาทันทีว่าพระนางทรงเข้าใจว่าฉันรู้สึกเช่นไร เพราะพระบุตรสุดที่รักของพระนางก็สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน และเช่นกันที่พระนางต้องอดทนต่อความรู้สึก ความเจ็บปวด และ ทุกขเวทนาสุดแสนจะพรรณนาออกมาได้ ฉันรู้สึกราวกับว่าพระนางทรงไขแสดงให้ฉันได้ตระหนักถึงพระเมตตาอย่างล้นพ้นที่พระเป็นเจ้าทรงมีให้กับฉัน ด้วยการสัมผัสฉันผ่านประสบการณ์จริง”

เบิร์ค ไพรซ์ ยังอยู่ในคริสตจักร แบตติส แต่ออฟฟิซของเธอนั้นเต็มไปด้วยแม่พระแล้ว ไม่ว่าจะเป็น รูปปั้นกระเบื้อง รูปภาพ จนถึงบัตรภาวนา ทั้งหมดล้วนมีภาพพระแม่มารีย์ หรือ เกี่ยวกับพระแม่มารีย์ ด้วยกันทั้งสิ้น เธอจะมีสายประคำเส้นหนึ่งไว้สำหรับผู้ป่วยที่เป็นคาทอลิค เธอบอกว่า

“และในบางครั้ง ฉันรู้จักบทสวดพวกนั้นดีกว่าพวกเขาเองเสียอีก”

เบิร์ค ไพรซ์ ถูกดึงดูดด้วยสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็น เสน่ห์ที่สำคัญที่สุดของพระนางมารีย์ก็ว่าได้ นั่นคือพระนางเป็นศูยน์รวมของภาพลักษณ์แห่งความรักแบบคริสตชนของช่วงเวลาสำคัญสองช่วงคือ ช่วงเวลาแห่งการกำเนิด และช่วงเวลาแห่งความตาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ทางโปรแตสแตนท์ออกตัวปฏิเสธอย่างเป็นทางการ แต่ก็เหมือนเป็นการห่างเหินมาแต่แรกแล้วเสียมากกว่า ความกระหายในสิ่งนี้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรมผ่านทางภาพยนตร์ “The Passion of the Christ” ของ เมล กิ๊บสัน ศิษยาภิบาลอนุรักษ์นิยมหลาย ๆ คนได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร คริสเตียนนิตี้ ทูเดย์ ว่า พวกเขารู้สึกดี และชื่นชมกับฉากหลาย ๆ ฉากของพระแม่มารีย์ในภาพยนตร์ ที่ไม่ได้มีกล่าวไว้โดยตรงในพระคัมภีร์ แต่ถูกเพิ่มเข้ามา คือ ฉากที่พระแม่เห็นพระบุตรถูกโบยต่อหน้าต่อตา ฉากที่พระแม่ไปซับพระโลหิตบนพื้น ฉากพระแม่จูบพระพักตร์อาบโลหิตของพระบุตร และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉากตอนที่พระเยซูคริสต์ทรงแบกกางเขนแล้วล้มลง ได้ย้อนความหลังตอนที่พระกุมารเยซูล้มลงและร้องไห้ และพระแม่มารีย์วิ่งเข้าไปอุ้มพระองค์ขึ้นมาในอ้อมแขนของพระแม่

นอกจากนี้ ฉากอันน่าสะเทือนใจจากภาพยนต์ฉากนั้น ยังทำให้ ความเป็นโปรแตสแตนท์ ของบูคานัน รู้สึกกระทบอะไรบางอย่างด้วย

“ผม และ คุณ ต้องมาพิจารณากันถึงเรื่องศรัทธาในแง่ของความคิด และวัตถุประสงค์ ก่อนจะอ้างว่าสิ่งใดจริงหรือเท็จ พระนางมารีย์ได้ทรงเตือนสติเราว่า ศรัทธาของเรานั้นเกิดจากความรัก ความรักที่ไม่ได้มาจากการตีความอันมีเหตุผลจากตัวอักษรในหนังสือ หากแต่มาจากชีวิตของมนุษย์เราเอง ”

“เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงเรื่องของแม่คนหนึ่ง ที่บุตรของนางถูกสังหารลงในอิรักเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เพื่อบรรดาเด็ก ๆ ภรรยา และ สามี ซึ่งคอยการกลับมาของผู้อันเป็นที่รักด้วยความกลัว และ ความหวัง ขอให้เรายอมให้พระนางมารีย์เป็นผู้เตือนใจเราถึง ความรัก และพระเมตตาอันล้นพ้น และ ความชิดสนิทกับพระผู้เป็นเจ้าเถิด ”