ตอนนี้เรื่องพระนางมารีย์เหมาะสมหรือไม่อย่างไร
ไม่ใช่ประเด็นสำคัญในนิกายใหญ่ๆบราเทน กล่าว
แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้จะเข้ามาก็เพราะสาเหตุของการไหลบ่าจำนวนมากของคนกลุ่ม
สเปน และ ลาตินอเมริกา ที่เข้ามาในโปรแตสแตนท์
ในความเป็นจริงแล้ว เฉพาะในอเมริกา ตอนนี้ก็มีกลุ่มชาวโปรแตสแตนท์ละตินร่วม
8 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวแมกซิกัน ประเทศซึ่งมีแม่พระแห่งกัวดาลูป ในฐานะป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ
พอๆกับ สัญลักษณ์ทางศาสนา และเป็นครอบครัวคาทอลิคกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
เรื่องของพระนางมารีย์เป็นเสมือนวัฒนธรรมหลักอย่างหนึ่งไปแล้ว
ศาสนจารย์โปรแตสแตนท์ โจเซ่ เลนดาวาร์เด แห่ง คริสตจักร เอล อามอร์ เดอ
ดิออส กล่าว ในสภาพแวดล้อมของเพื่อนบ้านและหลอมรวมผู้คนเหล่าเข้าด้วยกัน
นี่จึงเป็นสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องมี พระมารดาทรงสร้าง ความหวัง ให้พวกเขา
และ คริสตจักรก็ฟื้นตัวขึ้นมาเหมือนลาซารัสที่ฟื้นคืนชีพจากสมาชิกไม่กี่สิบ
กลายเป็นหลายพันทันทีที่เขาเพิ่มบทบาทพระแม่มารีย์เข้าไป
เอนริเก้
กอนซาเลส ศาสนจารย์ของ คริสตจักร เอล เมซิอัส ยูไนเต็ด เมโทดิสต์ ในเขต
เอลจิน ได้เขียนผลงานหนึ่งชื่อว่า เรื่องของคริสเตียนศตวรรษนี้กับพระนางมารีย์
(Christian's Century's Mary Story) ซึ่งเนื้อหากล่าวว่า ชาวลาตินโปรแตสแตนท์ระวัดระวังเกี่ยวกับความเชื่อดังกล่าวเป็นพิเศษ
เพราะว่าพระกิตติคุณข่าวดีของพระเยซูคริสต์ ไม่ได้ถูกประกาศต่อคริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกในลาตินอเมริกา
เพียงเฉพาะ คำสอนเรื่องพระนางมารีย์อย่างเดียว
แต่กระนั้นก็ดี เท็ด แคมป์เบล ผู้เป็นผู้อำนวยการของโรงเรียนสอนพระคัมภีร์นิกายเมโทรดิส
ใน เอวานสโตน อิลีนอยส์ ได้กล่าวเอาไว้ว่า นี่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับโบสถ์โปรแตสแตนท์หลายต่อหลายแห่ง
ตอนที่เขาได้ยินเรื่องที่เกิดขึ้นที่ เอล อามอร์ เดอ ดิออส เขาได้แต่อุทานว่ามันช่างวิเศษเสียนี่กระไร
สิ่งนี้เพิ่มความน่าสนใจให้กับประเด็นทางเทววิทยามากขึ้น
แคมป์เบล อธิบาย เรื่องนี้ทำให้เราได้มีโอกาสหันกลับไปมองที่ข้อคำสอนของเราแล้วตั้งคำถาม
ว่า จริงๆแล้วเรากำลังสอนอะไรกัน?
มุมมอง และคำถามเหล่านั้นคงจะผุดขึ้นมามากขึ้นเรื่อย
ๆ ได้ยินกันมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อบรรดาโปรแตสแตนท์ที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลง
หันกลับมาฟื้นฟู เรื่องพระนางมารีย์ ไม่ใช่เพียงแค่คิดถึงพระนางแค่ตอน
คริสต์มาส หรือ อีสเตอร์ แต่เป็นตลอดทั้งปี