ในสมัยท่านปาสเตอร์
กสิกรเลี้ยงไหมทางภาคใต้ฝรั่งเศส ต้องประสบปัญหากับโรคระบาดชนิดหนึ่งที่เกิดกับตัวไหม
ทำให้ลำตัวเป็นจุดๆ เรียกว่า โรคเปบรีน (Pebrine) และตายไปในที่สุด. อุตสาหกรรมไหมได้รับการกระทบกระเทือนอย่างหนัก...ท่านปาสเตอร์ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าอยู่ถึง
5 ปี จึงพบยาที่ใช้ปราบโรคเปบรีนได้ กสิกรเลี้ยงไหมได้รอดพ้น จากความหายนะก็โดยอาศัยท่าน
ปาสเตอร์ผู้นี้.
ทุกวันนี้
ทั่วโลกยกย่องหลุยส์ปาสเตอร์ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่สาธารณชนแต่มีอยู่สิ่งหนึ่งทุกคนมักจะมองข้ามเสีย
คือความศรัทธาที่ท่านมีต่อบิดาของท่าน. ในฐานะที่บิดาของท่านมีความเชื่อในพระเจ้าอย่างแรงกล้า
ตัวท่านเองก็ได้รับเอาความเชื่อนั้นเป็นมรดกตกทอดมาด้วย.
ในความเปรื่องปราดของท่าน ท่านมองเห็นภาพพระผู้สร้างสะท้อนอยู่ในทุกสิ่งที่อยู่รอบกายท่าน
และท่านก็อดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมนักวิทยาศาสตร์รุ่นราวคราวเดียวกับท่านหลายคนจึงมองไม่เห็นสัจธรรมข้อนี้.
โยเซฟปาสเตอร์
บิดาของท่านนั้นมีฐานะยากจน ประกอบอาชีพเป็นนักฟอกหนัง แต่ก็มีความศรัทธาแก่กล้าในพระศาสนาคาทอลิกเป็นอย่างยิ่ง
และได้ถ่ายทอดความศรัทธานั้นให้แก่ลูกชายอย่างครบถ้วน. หลุยส์ปาสเตอร์
สมัยเมื่อเป็นเด็กๆ ชอบวาดภาพต่างๆ ไว้มาก...วันดีคืนดีโยเซฟ ปาสเตอร์
ผู้เป็นพ่อมักจะเอาภาพเหล่านั้นออกมาอวดเพื่อนๆ ...ที่แปลกก็คือทุกภาพจะต้องมีรูปกางเขนติดอยู่
อันเป็นฝีมือของปาสเตอร์ผู้พ่อ... ปาสเตอร์ผู้ลูกก็ยอมรับ...ถึงกับเล่าไว้ในจดหมายที่เขียนถึงภรรยาว่า
ส่วนที่สวยที่สุดของภาพวาดเหล่านั้น
ก็คือภาพกางเขนนั่นเอง.