คอนแสตนติน

จักพรรดิ ตอนแสตนติน

จักพรรดิคอนสแตนตินเป็นพระโอรสของพระนางเฮเลนน่า (Helenna) สตรีที่นิยายไม่อ้างถึงผู้นี้คือผู้มีความศรัทธาต่อคริสตศาสนาเป็นอย่างมาก และเป็นผู้ทำนุบำรุงสร้างศาสนสถานขึ้นมาหลายต่อหลายแห่ง และพระทางทรงเสด็จประพาสกรุงเยรูซาเลม เพื่อแสวงบุญ และรื้อฟื้นสถานที่สำคัญทั้งหมดของพระเยซูเจ้าไม่ว่าจะเป็นสถานที่ประสุติ สถานที่ถูกตรึงกางเขน มงกุฎหนามของพระเยซู ฯลฯ วีรกรรมสำคัญอันหนึ่งของพระนางคือค้นพบกางเขนอันจริงที่ใช้ตรึงพระเยซูเจ้า


ภาพการค้นพบกางเขนของพระราชชนนีเฮเลน

พระศาสนจักรได้แต่งตั้งพระนางเป็นนักบุญ พระนางจึงเป็นสตรีศักดิ์สิทธิ์อีกคนหนึ่งของพระศาสนจักรเลยทีเดียว ซึ่งภาพเขียนของพระนางจะวาดภาพพระนางในชุดราชินีทรงมงกุฎกอดกางเขนใหญ่ อันแสดงความสำคัญของพระนางข้อนี้ ซึ่งความเชื่อความศรัทธาในคริสตศาสนาของพระนาง ก็ได้ถ่ายทอดไปยังพระโอรสคอนสแตนตินด้วย

CIMA da Conegliano
St Helena
1495


ในปี ค.ศ.312 จักพรรดิ มักแซนซีโอ ผู้ตีประเทศอิตาลีและแอฟริกามาแล้ว หมายมงกุฎจักพรรดิจากคอนแสตนติน
พระองค์จึงยกพลเข้าใกล้กรุงโรมเพื่อเตรียมปะทะกับมักแซนซีโอ ในคืนก่อนสงครามใหญ่ที่สะพาน มิลเวี่ยน คอนแสตนตินได้รับนิมิตจากฝันว่าให้ใส่เครื่องหมายของพระเยซูคริสต์ลงบนโล่ของทหารของพระองค์ พระองค์ก็ทรงเชื่อในฝันนั้นและทำตามจนได้รับชัยชนะที่ยิ่งใหญ่มา

25 ปี ต่อมาหลังจากนั้น ขณะที่จักพรรดิคอนสแตนตินและกองทัพกำลังรุดหน้าไปที่โรมนั้น พวกเขาสังเกตเห็นแสงสว่างอันมากมายมหาศาล กับ ปรากฏการณ์ประหลาดบนท้องฟ้า มีกางเขนแสงปรากฏขึ้น และมีเสียงดังมาว่า

"ด้วยเครื่องหมายนี้ เจ้าจะเป็นผู้มีชัย" (hoc signo victor eris or )
และในคืนต่อมา พระเยซูคริสต์ปรากฏพระองค์ต่อคอนสแตนตินในฝัน และสั่งให้คอนสแตนตินใส่เครื่องหมายของสวรรค์ ลงบนธงประจำกองทัพ ซึ่งชื่อของธงนั้นมีชื่อว่า "Labarum" ผลของการทำตามนั้นคือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ซึ่งพระองค์ได้ยกถวายขึ้นต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า

ก่อนสมัยของจักพรรดิ คอนแสตนติน นั้น คริสตศาสนิกชนในโรมถูกเบียดเบียนอย่างหนัก ซ้ำจำนวนผู้นับถือศาสนาคริสต์ยังมีเพียง 15 % เท่านั้นด้วย

ก่อนหน้านั้นคาดว่ามีคริสตชนถูกฆ่าจากการเบียดเบียนเหล่านี้ถึง200,000คน

แต่หลังจักพรรดิ คอนแสตนตินครองอำนาจ พระองค์ก็ได้ทรงให้การอุปถัมภ์ทำนุบำรุง คริสตศาสนา และยุติการเบียดเบียนคริสตศาสนิกชนทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ให้เสรีภาพทางการนับถือศาสนาต่อพลเมืองทุกคนโดยทรงประกาศกฤษฏีกามิลานขึ้นในปีค.ศ. 313 ให้ทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา

ในช่วงปีคริสตศักราช 325-337 จักพรรดิคอนสแตนตินยังคงทรงให้การสนับสนุนต่อทางศาสนจักรเช่นที่ผ่านมา และยิ่งเด่นชัดมากขึ้นจากการบริจาคทาน และ บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นเงินจำนวนมาก

ภายหลังพระองค์ได้ย้ายเมืองหลวงไปทางตะวันออก ก่อตั้งเป็นกรุงคอนแสตนติโนเปิลขึ้นมา ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นที่ตั้งหลักของคริสตศาสนานิกายออร์โธดอกซ์ นั่นเอง

คริสตศาสนานิกายออร์โธดอกซ์แม้แต่ในปัจจุบัน ก็ยังนับว่ามีรูปแบบความเชื่อ ธรรมเนียมปฏิบัติที่ใกล้เคียงกับในยุคของจักพรรดิ คอนแสตนติน มากทีเดียว



Q : จริงหรือที่จักพรรดิ คอนแสตนตินสถาปานา คริสตศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติของชาวโรมัน ?

A : ไม่เป็นความจริง
จริงอยู่ที่พระองค์ทรงมีความศรัทธาต่อคริสตศาสนาเป็นอย่างมาก และให้การอุปถัมภ์ ทำนุบำรุงคริสตศาสนามาด้วยดีเสมอมา แต่พระองค์ก็ทรงให้เสรีภาพทางการนับถือศาสนาแก่พลเมืองโรมันทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยก คริสตศาสนาพึ่งมาเป็นศาสนาประจำชาติโรมันในสมัยของจักพรรดิ ทีโอโดซีอุส ซึ่งครองราชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 379-395




Q : จริงหรือที่จักพรรดิ คอนแสตนติน มาเป็นคริสตชนเพราะถูกบังคับ ?

A : ไม่เป็นความจริงเลย
พระองค์สมัครพระทัยด้วยตัวของพระองค์เอง ก่อนนั้นพระองค์เคยเคารพบูชาเทพเจ้าของทางกรีกโรมัน อย่าง Mars หรือ Apollo แต่หลังจากพระองค์ได้สัมผัสคริสตศาสนาผ่านกิจการศรัทธาของพระนางเฮเลนนา พระมารดาของพระองค์ และได้รับนิมิตด้วยพระองค์เองแล้ว พระองค์ก็มีศรัทธาต่อคริสตศาสนาอย่างแรงกล้าจนเต็มพระทัยที่จะหันมานับถือคริสตศาสนาเอง


การรับศีลล้างบาปของจักรพรรดิ์คอนแสตนติน

Q : จริงหรือไม่ที่ จักพรรดิ คอนแสตนติน เป็นเพแกนมาตลอดชีวิต แล้วจึงพึ่งมารับบัพติสมาก่อนจะสิ้นพระชนม์ ?

A : ในความเป็นจริงแล้ว จักพรรดิคอนสแตนตินทรงนับถือคริสตศาสนาในทางปฎิบัติมาตั้งแต่ทรงเห็นนิมิตแล้ว

แต่การที่พระองค์รับบัพติสมา (พิธีล้างบาป) ก่อนสิ้นพระชนม์นั้น ก็เพราะเป็นความเชื่อคริสตชนยุคแรก ที่เชื่อว่าการรับบัพติสมาจะชำระล้างบาปทั้งหมด จึงไม่สามารถรับซ้ำได้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงที่บางคนจะรับบัพติสมาตอนใกล้จะสิ้นชีวิตที่สุด เพื่อที่จะได้ไม่กระทำบาปความผิดอะไรต่อ และตรงเข้าสู่สวรรค์เลย จึงไม่น่าแปลกอะไรที่พระองค์จะทรงกระทำเช่นนั้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพระองค์เองที่รบ หรืออาจสั่งประหารจากภาระหน้าที่อันบังคับของพระองค์



อ้างอิง

* Philip Schaff , History of The Christian Church (Grand Rapids : Eerdmans ,1950 ed.) vol. 3 p. 30 ; cf. F.F. Bruce , the spreading Flame (Grand Rapids : Eerdmans ,1958; 1995 reprint)

* Richard Abanes , “The Truth Behind The Davinci Codes”

DaVinci Code