นักบุญเฮเลน่า สตรีศักดิ์สิทธิ์ที่นิยายไม่ได้กล่าวถึง
สตรีศักดิ์สิทธิ์ผู้เป็นอิทธิพลสำคัญของการเป็นจักรพรรดิ์คริสตชนของคอนสแตนติน
นักบุญ เฮเลน่า
พระชนนีเฮเลน่า พระมารดาของจักรพรรดิ์คอนสแตนตินมหาราช ประสูติในช่วงกลางของศตวรรษที่ 3 คาดว่าเกิดที่ Drepanum (ภายหลังรู้จักกันในชื่อ Helenopolis)
ในปี 308 คอสแสนติทุส โคลรุส พระสวามี เสียชีวิตลง คอนสแนตตินผู้บุตร สืบทอดต่อ ได้ทรงเชิญพระมารดามาที่ศาลปกครองเพื่อมอบยศนามว่า "Augusta" ให้ และให้เกียรติพระนางในฐานะ พระชนนีของพระจักรพรรดิ์ และได้ให้แกะสลักเหรียญจำลองรูปพระนาง
และ พระชนนีเฮเลน่าผู้มีความเชื่อในคริสตศาสนามาก่อนแล้ว แต่สมัยที่คริสตศาสนายังถูกเบียดเบียนการจะเปลี่ยนมานับถือในสมัยนั้นจึงไม่อาจทำได้ เมื่อ คอนสแตนตินได้เป็นจักพรรดิในปี 312 และ ประกาศเสรีภาพในการนับถือศาสนา ในปี313 พระนางจึงได้รับพิธีล้างบาปเข้าเป็นคริสตชนสมความตั้งใจ
เรื่องนี้ได้รับการยืนยันโดยตรงจากบันทึกประวัติศาสตร์ของ Eusebius (Vita Constantini, III, xlvii)
"พระนางเฮเลน่า ภายใต้การเห็นชอบของ จักรพรรดิ์คอนแสนตติน ได้ปฏิญาณตนเป็นข้ารับใช้องค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระนางเองตั้งแต่ยามครั้งเยาว์วัยก็ได้ปราวนาตนเป็นศิษย์ของพระผู้ไถ่มนุษยชาติอยู่แล้ว"
นอกจากนี้ยังมีนักประวัติศาสตร์ในสมัยเดียวกันของพระศาสนจักร ที่บันทึกว่า หลังจากที่ทรงเปลี่ยนศาสนาอย่างเป็นทางการ ได้ใช้ชีวิตเป็นคริสตศาสนิกชนที่ดี และมีส่วนในการเผยแพร่พระธรรมคำสอนมาก
พระนามของพระองค์ถูกใช้เรียกโบสถ์คริสต์หลายโบสถ์ทางฝั่งตะวันตก เรารู้จาก Eusebius ว่า พระนางเฮเลน่าสร้างโบสถ์ขึ้นหลายต่อหลายแห่งตามที่ของนักบุญองค์ต่างๆ ในประเทศปาเลสไตน์ โดยไม่สนพระชนมายุของพระนางที่ชราภาพลง
พระนางเดินทางไปที่ปาเลสไตน์ ในดินแดนที่พระเยซูเจ้าประสูติ เทศนา และสิ้นพระชนม์ ในปี 324 ตามที่เราทราบจาก Eusebius (loc. cit., xlii)
พระนางอุทิศชีวิตให้กับดินแดนแห่งนั้น สำรวจและทำความรู้จักดินแดนนั้น และเยี่ยมเยียนด้วยความเอาใจใส่กรุณาตามแบบของจักพรรดินี ทรงแสดงกิจศรัทธาด้วยการเดินตามแบบอย่างของพระเยซูเจ้า
ทรงสร้างโบสถ์ขึ้น 2 แห่ง เพื่อเป็นที่สักการะต่อพระเยซูเจ้า หนึ่งคือที่ เบธเลเฮ็ม ใกล้ถ้ำที่พระเยซูประสูติ
และอีกหนึ่งบนภูเขาที่พระเยซูได้เสด็จขึ้นสวรรค์ใกล้กับกรุงเยรูซาเล็ม นอกจากนี้ยังทรงประดับตกแต่งถ้ำศักดิ์สิทธิ์ด้วยเครื่องประดับที่งดงามอีกด้วย
รวมถึงเหตุการณ์สำคัญการพบ "กางเขนของพระคริสต์" ที่บันทึกโดย Rufinus
พระชนนีเฮเลน่าแห่กางเขนอันที่ตรึงพระเยซู เข้ากรุงเยรูซาเล็ม
ตามข้อมูลของ Eusebius พระนางทรงพระทัยกว้างเอื้อเฟื้อมาก ทรงให้ความช่วยเหลือผู้คนจำนวนมากในแต่ละชุมชน คนยากจน คนยากไร้ เป็นกลุ่มคนที่ทรงช่วยเหลือเป็นพิเศษ
ทรงเยี่ยมโบสถ์ทุกแห่งด้วยความกระตือรือร้น และทุกที่ๆเสด็จไป ก็ทรงบริจาคเงินจำนวนมากให้กับโบสถ์แต่ละที่ ทรงตอบสนองต่อพระวาจาคำสั่งสอนของพระเจ้า ทั้งด้วยวาจา และ การกระทำ
ภายหลังจากเสด็จกลับจากปาเลสไตน์มาหาบุตรของพระนางที่ขณะนั้นพำนักอยู่ในตะวันออก โดยจักรพรรดิ์คอนสแตนติน อยู่ข้างๆยามสิ้นพระชนม์ด้วยความชราภาพ เมื่ออายุประมาณ 80 ปี (Eusebius, "Vita Const.", III, xlvi)
พระชนนีเฮเลน่า ถูกแต่งตั้งเป็นนักบุญ และ ผู้คนต่างให้ความเคารพเธอ แม้แต่ในประเทศฝั่งตะวันตก โดยเริ่มในช่วงต้นของศตวรรษที่ 9
วันระลึกถึงพระนางคือวันที่ 18 สิงหาคม เพื่อเป็นการระลึกถึงการที่นักบุญเฮเลน่าได้พบกางเขนศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า
ภาพโมเสก นักบุญเฮเลน่า และจักรพรรดิ์ คอนสแตนติน กับกางเขนที่ตรึงพระเยซู
อ้างอิง
* Catholic Encyclopedia, St. Helena
http://www.newadvent.org/cathen/07202b.htm
เป็นที่แน่นอนและเห็นชัดว่าจักรพรรดิคอนตเนท์ตินทรงรักและเคารพในคำสั่งสอนของนักบุญเฮเลน่าผู้เป็นมารดา พระองค์จึงได้ประกาศเสรีภาพในการนับถือศาสนาและเห็นชอบด้วยในการที่พระมารดาของพระองค์จะทรงนับถือคริสต์ศาสนาเต็มตัวแสดงว่าคอนแสตนตินเองก็ทรงยอมรับในคริสต์ศาสนา ดังนั้นแนวคิดที่ว่า "คอนสแตนตินพยายามสร้างประวัติศาสตร์แบบที่เขาชอบในคริสตศาสนาจากเหตุผลที่ขัดกันเองว่าเพราะอิทธิพลของศาสนาเทพโรมันเดิม" จึงออกจะดูขัดกับหลักความเป็นจริงไปมากและดูไม่สมเหตุสมผลจนเป็นไปไม่ได้
ทั้งที่จริงแล้วเราน่าจะจดจำสตรีศักดิ์สิทธิ์คนนี้ ผู้เป็นมารดาที่แสนดีผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จและสิ่งที่ทรงกระทำต่อพระศาสนาของบุตรชาย และนำสตรีศักดิ์สิทธิ์คนนี้มายกย่องให้เด่นชัด แทนที่"ทฤษฎีสมคบคิด"ที่บดบังความสำคัญของเธอจะดีกว่ามิใช่หรือ
รูปแกะสลักนักบุญเฮเลน่า ในวาติกัน