พิธีกรรมทางศาสนา

เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันทั้งนักประวัติศาสตร์ และนักการศาสนา และแม้แต่พระศาสนจักรเองว่า คริสตศาสนามีรากฐานมากจากศาสนาโบราณที่เก่าแก่กว่า นั่นคือศาสนายิว ความเชื่อ พิธีกรรม และ ธรรมเนียมปฏิบัติของทางศาสนายิวหลายต่อหลายอย่างได้สืบทอดมาปรากฏในคริสตศาสนามากมาย โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปนำความเชื่อและพิธีทางศาสนาโบราณอื่น ๆ เข้ามาแต่อย่างใด




พิธีล้างบาป

Q : จริงหรือที่ว่า พิธีล้างบาปด้วยน้ำ หรือการรับบัพติสมานั้นมีที่มาจากการชำระตัวในแบบของศาสนามิทรัส?

A : พิธีการล้างบาปด้วยน้ำนี้เป็นธรรมเนียมที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยยิวโบราณแล้ว โดยในคริสตศาสนาเริ่มครั้งแรกโดยนักบุญยอห์นทำพิธีล้างให้กับพระเยซู จากนั้นจึงถือตามปฏิบัติกันมาตั้งแต่บัดนั้น และสืบทอดต่อมายังคริสตศาสนา

นอกจากนี้น้ำยังเป็นสัญลักษณ์แห่งการชำระล้างให้บริสุทธิ์ และการเริ่มต้นชีวิตใหม่มาแต่ช้านานแล้ว
ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างเด่น ๆ ที่ปรากฏในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญเดิม อย่างเช่น

1. เหตุการณ์ของโนอาห์กับน้ำท่วมโลก ที่น้ำทำหน้าที่เป็นตัวชำระล้างโลกให้สะอาดบริสุทธิ์ใหม่อีกครั้ง
2. เหตุการณ์การแยกน้ำของโมเสสที่ช่วยให้ชาวอิสราเอลสามารถข้ามผ่านทะเลแดงไปได้ ซึ่งนั่นก็เป็นการเดินผ่านน้ำก็คือการให้นำชำระเพื่อจะรอดนั่นเอง

หรือ จะอ้างถึงเหตุการณ์ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ก็มีเหตุการณ์การล้างมือของปิลาตที่แสดงว่าตนไม่มีมลทินต่อการหลั่งโลหิตของพระเยซู
เป็นต้น




พิธีศีลมหาสนิท

Q : จริงหรือที่ว่าพิธีศีลมหาสนิท พิธีกินขนมปังและเหล้าองุ่นของทางคริสตศาสนานั้นเป็นการเลียนแบบพิธีกรรมของศาสนาโบราณนอกรีตอื่นๆ

A : ไม่เป็นความจริงเลย พิธีกรรมเช่นนี้มีต้นกำเนิดจากพิธีกรรมปัสกา (Passover) ของชาวยิวที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโมเสส และจัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการที่พระเจ้าช่วยพวกตนให้รอดจากอียิปต์ได้ โดยในคืนก่อนชาวอิสราเอลจะออกจากอียิปต์นั้น ได้มีการฆ่าแกะแล้วนำมากินและนำเลือดมาทาประตูบ้านเพื่อให้รอดจากทูตแห่งความตาย

จนมาถึงสมัยของพระเยซูเจ้า พระองค์ก็ประกอบพิธีปัสกานี้เช่นเดียวกันในระหว่างพระกายาหารค่ำมื้อสุดท้ายนั่นเอง หากแต่พระองค์ทรงถวายพระองค์เองเป็นเครื่องบูชาแห่งการไถ่กู้แทนลูกแกะ โดยใช้ขนมปังและเหล้าองุ่นสื่อแทนถึงพระกายและพระโลหิตของพระองค์

และชาวยิวยังมีพิธีชำระบาป โดยเมื่อทำบาปไปแล้ว ให้เอาแกะมาถวายบูชาในวิหาร แล้วใช้เลือดแกะประพรมเพื่อชำระล้างมลทินความผิดบาป

ซึ่งสำหรับคริสตชนแล้วถือว่า พระเยซูเป็นพระผู้ไถ่ การสิ้นพระชนยมืบนกางเขนเพียงครั้งเดียวมีผลตลอดไปและกับทุกคน จึงไม่จำเป็นต้องถวายบูชายัญสัตว์ในคริสตศาสนาอีก

ตั้งแต่นั้นมาคริสตศาสนิกชนก็ประกอบพิธีนี้เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น โดยรับประทานแผ่นปังหรือที่เรียกว่าศีลมหาสนิทแทนพระกายของพระเยซูเจ้า และเหล้าองุ่นแทนพระโลหิต และถือว่านี่คือการทรงไถ่ที่สมบูรณ์แล้วจากพระเยซูเจ้า




วันอาทิตย์

Q : จริงหรือที่จักพรรดิคอนสแตนตินเป็นผู้เลื่อนวันสำหรับนมัสการพระเจ้าจากวันเสาร์เป็นวันอาทิตย์ ?

A : ไม่เป็นความจริง วันอาทิตย์เป็นวันของพระเจ้ามาแต่ช้านานแล้ว
สิ่งเดียวที่จักพรรดิคอนสแตนตินได้ทรงทำเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือตั้งให้หนึ่งสัปดาห์มีวันอาทิตย์เป็นวันแห่งการหยุดพักผ่อนทั่วราชอาณาจักรเท่านั้น

ในช่วงเวลายุคนั้นมีการตั้งวันโดยอ้างอิงกับวันหลักสามวันในเดือน คือ คาเลนดส์ (Kalends) เป็น แรก โนเนส (Nones) เป็น เจ็ด และ ไอเดส (Ides) เป็น สิบห้า
ชาวยิวและเพแกนบางกลุ่มที่บูชาดาวเสาร์ได้ถือวันเสาร์เป็นวันแห่งการหยุดพักผ่อน
แต่จักพรรดิคอนสแตนตินกำหนดวันอาทิตย์ให้เป็นมาตรฐานแทนเพื่อเอาตามอย่างปฏิทินของโรมัน



Q : จริงหรือที่ว่าการกำหนดวันอาทิตย์เป็นวันของพระเจ้าในคริสตศาสนา เอามาจากความเชื่อของโรมันโบราณ?

A : ไม่เป็นความจริง
การกำหนดวันอาทิตย์เป็นวันหลักในการประกอบพิธีกรรมเริ่มสมัยจักพรรดิโรมัน
ทราจาน (Trajan ค.ศ. 98-117) ที่กำหนดวันเสาร์เป็นวันสะปาโต และ วันอาทิตย์เป็นวันสำหรับพระเจ้า ซึ่งมีกล่าวในพระคัมภีร์ (กิจการ 20 : 7 , 1 โครินธ์ 16 : 2 )

วันอาทิตย์ได้รับการยอมรับเป็นวันของพระเจ้าเพราะ
เป็นวันที่พระเยซูทรงกลับคืนพระชนม์ (มัทธิว 28 : 1 )
เป็นวันที่พระองค์ทรงปรากฏต่อบรรดาสานุศิษย์ของพระองค์ (ยอห์น 20 : 26 )
และเป็นวันที่พระจิตเสด็จมา (กิจการ 2 : 1)

นอกจากยังมีหลักฐานอื่น ๆ ที่สนับสนุนว่าวันอาทิตย์เป็นวันของพระเจ้าก่อนยุคของ
จักพรรดิคอนสแตนตินอีกหลายหลักฐาน




หมวกทรงสูง

Q : จริงหรือที่ว่าหมวกทรงสูงของบิช็อป หรือ มิทเร่ (Mitre) มีที่มาจากศาสนาของอียิปต์ ?

A : ไม่เป็นความจริง หมวกมิทเร่นี้มีที่มาตั้งแต่สมัยของชาวยิวแล้ว เหล่าพระชาวยิวก็สวมหมวกทรงสูง โดยยอดแหลมของหมวกในคริสตศาสนาสื่อแทนถึงลำแสงที่พุ่งออกจากตัวโมเสสตอนเขาได้รับบัญญัติ 10 ประการจากพระเจ้า นอกจากนี้มหาปุโรหิตชาวยิวยังสวมหมวกยอดแหลมที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เพื่อสื่อถึงพลังอำนาจด้วย

ภาพสมณะยิวสวมหมวกจาก The Passion of the Christ

รูปพระแม่มารีย์อุ้มพระกุมารเยซู

Q : จริงหรือที่รูปพระแม่มารีย์อุ้มพระกุมารเยซูมีที่มาจากเทพ๊ไอซิส (Isiz) ของทางอียิปต์

A : จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้นหรือ โดยพื้นฐานแล้วรูปภาพมารดาอุ้มบุตรของตนนั้นเป็นรูปที่เรียกว่าสามัญธรรมดามาก
จนสามารถพบเห็นได้ทั่วไปจากผลงานศิลปะของทุกชนชาติ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอันใดที่ภาพแม่อุ้มลูกต้องมีที่มาจากเทพีไอซิสแต่เพียงอย่างเดียว และที่สำคัญ รูปทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดรูปหนึ่งของคริสตศาสนาคริสต์ก็คือรูปพระมารดาวางพระพุมารเยซูบนตัก บนฝาผนังในกาตากอมซึ่งเก่าแก่ถึงก่อนค.ศ100

ภาพพระแม่มารีย์มีพระกุมารนั่งตักคริสตศิลปะอันเก่าแก่ในอุโมงค์กาตากอมในกรุงโรม

พระนามของพระเจ้า

Q : ดาวินชี่ โคดอ้างว่า พระนามของพระผู้เป็นเจ้า พระยาเวห์ ( YHWH ) มาจากคำว่า Jehovah มาจากการรวมคำที่สื่อถึงเพศชายคือ Jah รวมกับชื่อ Eve ในรูปภาษาฮีบรูเก่าว่า Havah เป็นการนำคำที่สื่อถึงความเป็นหนึ่งชองเพศชายและหญิงมาเรียกขนานเป็นพระนามของพระเจ้าจริงหรือ

A : ตรงข้าม คำว่าJehovah ต่างหากที่มาจากคำว่า YHWH จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาวยิวพยายามที่จะใส่สระจากคำฮีบรูว่า adonai(องค์พระผู้เป็นเจ้า) ใส่ลงในชื่อ YHWH ผลของการผสมนี้กลายเป็น YaHoWaH

โดยหลักฐานบ่งชี้ว่าคำที่ถูกสร้างขึ้นใหม่นี้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้อ่านระลึกว่าพระนามของพระผู้เป็นเจ้านั้นศักดิ์สิทธิ์เกินกว่าจะเปล่งเป็นเสียงพูดออกมาได้ ดังนั้นจึงนำคำว่า adonai มาใช้แทนที่เข้าไป และเมื่อคำว่า YaHoWah ถูกเปลี่ยนเป็นรูปภาษาลาติน ตัว “Y” “W” ถูกแทนที่ด้วยตัว “J” และ “V” จนกลายเป็น Jehovah นั่นเอง




อ้างอิง
* John Michael Greer , The New Encyclopedia of the Occult (St.Paul , MN : Llewellyn Publications , 2003 )

* Kerr Cuhulain, Full Contact Magick: A Book of Shadows for the Wiccan Warrior (St.Paul, MN: Llewellyn Publications, 2002)

* Raven Grimassi, Encyclopedia of Wicca & Witchcraft (St.Paul, MN : Llewellyn Publications, 2000)

* จอร์จ เฟอร์กูสัน เขียน, กุลวดี มกราภิรมย์ : เครื่องหมายและสัญลักษณ์ในคริสต์ศิลป์ (สำนักพิมพิ์มหาลัยเกษตรศาสตร์)

DaVinci Code