ประเทศอิรัก- - -คริสตชนบนทางกางเขน

ประเทศอิรัก
คริสตชนบนทางกางเขน

พื้นที่               438,320 ตร. กม.
ประชากร         26,000,000 คน; (ชาวอาหรับประมาณ 75 % , ชาวเคิร์ด 20%)
เมืองหลวง       กรุงแบกแดด (ประชากร 38 ล้านคน)
ภาษาราชการ   อาหรับ เคิร์ด (ในเขตปกครองเคิร์ดทางภาคเหนือ)

สถานการณ์ทั่วไปของชาวอิรัก

หลังจากกองกำลังต่างชาติโดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ประกาศชัยชนะต่ออิรักเมื่อ 1 พ.ค. 2003 ก็ถือเป็นการ
สิ้นสุดการปกครองโดยประธานิธิบดีซัดดัม ฮุสเซนและพรรคบาอัธ (Ba’ath) อย่างไรก็ตาม ประเทศอิรักก็ยังคงมีการใช้
ความรุนแรงตลอดมา จากกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมนิการสุหนี่ ซึ่งเคยเป็นสมาชิกของพรรคบาอัธ และกลุ่มต่างชาติอัล เคดา
ยิ่งกว่า ตั้งแต่มีการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลเมื่อต้นปี 2005 การก่อการร้ายกลับรุนแรงและบ่อยครั้งยิ่งขึ้นจากวันละ
30 ครั้ง เป็น 75 ครั้ง ทั้งนี้เพราะพวกเขาพยายามขัดขวางกระบวนการปกครองแบบประชาธิปไตย

สถานการณ์ความขัดแย้งในอิรักเข้าขั้นวิกฤติอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2549 เมื่อมีชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ลอบวางระเบิด
เผาศาสนสถานอัสการิยา โดมทองศักดิ์สิทธิ์ อายุ 1,200 ปี ในเมืองซามาร์รา ในจังหวัดซาลาเฮดดินของมุสลิมนิกายีอะห์
ผู้ประท้วงนิกายชีอะห์ตอบโต้ด้วยการบุกโจมตีมัสยิดของนิกายสุหนี่ไม่ต่ำกว่า 90 แห่งทั่วประเทศเฉพาะในกรุงแบกแดดมี
มัสยิดถูกเผากว่า 50 แห่ง ยังผลให้มัสยิดได้รับความเสียหาย มีผู้เสียชีวิตแล้วไม่น้อยกว่า 19 คน  รวมทั้งผู้นำทางศาสนา
ของนิกายสุหนี่ 3 คน ขณะเดียวกันมุสลิมนิกายชีอะห์ยังได้ยึดมัสยิดของชาวสุหนี่ไว้อีก 40 แห่ง และแขวนป้ายชื่อใหม่ เพื่อ
แสดงความเป็นเจ้าของ วันที่ 23 ก.พ. 2549 ทางการอิรักพบเหยื่อที่ถูกยิงตายแล้วกว่า 80 คน ที่ส่วนมากเป็นชาวมุสลิม
นิกายสุหนี่ในกรุงแบกแดด นับถึงต้น มี.ค. 2549 มีผู้เสียชีวิตจากทั่วประเทศใน เหตุการณ์ครั้งนี้มากกว่า 1,300 คน

ประธานาธิบดี จาลัล ทาลาบานี เรียกร้องให้ทุกฝ่ายปรองดองกัน ขณะที่ผู้นำหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส
จอร์แดน และเลบานอนต่างประณามผู้ก่อเหตุครั้งนี้ ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช กล่าวว่า เครือข่ายอัลเคดาอาจอยู่เบื้อง
หลังการทำลายศาสนสถานของมุสลิมชาวชีอะห์ แต่ไม่กล้าระบุว่าอิหร่านจะมีส่วนด้วยหรือไม่ ส่วนนายโคฟี อันนัน เลขาธิการ
สหประชาชาติ กล่าวว่าการโจมตีที่เกิดขึ้นมุ่งหวังเพื่อยุยงให้เกิดความแตกแยก และบั่นทอนความมั่นคงและสันติภาพ
ในอนาคต