สถานการณ์ทั่วไปของคริสตชนในอิรัก

ก่อนเกิดสงครามอิรัก-อิหร่าน มีคริสตชนในอิรักประมาณ 1.5 ล้านคน แต่ปัจจุบันเหลือเพียงประมาณ 7.5 แสนคนหรือ
ประมาณ 3 % ของประชากร 26 ล้านคน
คริสตชนในอิรักแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม ๆ ที่มีจำนวนมากที่สุดคือคาทอลิกจารีต
ตะวันออก สายคาลเดียที่มีพระอัยกาที่กรุงแบกแดดเป็นประมุข กลุ่มที่มีจำนวนรองลงมาคือคาทอลิกสายซีเรีย
คาทอลิก 2 กลุ่มนี้ ใช้ภาษาอาราเมียนในการทำจารีตพิธีทางศาสนา ยิ่งกว่านั้นพวกเขาส่วนใหญ่ยังคงใช้ภาษาที่สืบทอดกันมา
นับพันปีนี้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย คริสตชนกลุ่มอื่นๆ ได้แก่กลุ่มอัสซีเรียน อาร์เมเนียน ลาติน ฯลฯ ปัจจุบัน พระสังฆราช
ของกลุ่มคริสตชนทุกกลุ่ม จะมาร่วมประชุมกันอยู่เป็นประจำในลักษณะของพระศาสนสภา โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่าง
กันทางศาสนาของแต่ละกลุ่ม ทั้งนี้เพราะคริสตชนในประเทศเป็นเพียงชนกลุ่มน้อย จึงต้องร่วมมือกันเพื่อความอยู่รอด
ท่ามกลางชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่ถือว่าผู้ถือศาสนาคริสต์ทั้งหลายเป็นส่วนหนึ่งของ “ประชากรในหนังสือ”
ตามที่มีบันทึกไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน และมักกล่าวหาว่าเป็นพวกที่ร่วมมือกับ “การบุกรุกของกองทัพครูเสด” ซึ่งไม่ใช่พวก
ที่ร่วมมือกับ “การบุกรุกของกองทัพครูเสด” ซึ่งไม่ใช่พวกเดียวกันกับพวกตน


ปัจจุบันประเทศอิรักมีการแบ่งอำนาจระหว่างชน 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มมุสลิมนิกายชีอะห์ นิกายสุหนี่ และชาวเคิร์ด
คริสตชนในอิรักเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยที่พยายามรวมตัวกันเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง แต่ก็แทบไม่มีสื่อทั้งจากตะวันตกและตะวันออกให้
ความสนใจเลย สื่อต่างๆ มองดูพวกเขาเสมือนเป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ที่น่าสนใจทางมานุษยวิทยาเท่านั้น เนื่องจากพวกเขามีต้น
กำเนิดการเป็นคริสตชนตั้งแต่สมัยการเทศน์สอนของอัครสาวกโทมัส และเป็นกลุ่มคริสตชนที่เข้มแข็งมากในช่วง
คริสต์ศตวรรษต้นๆ
จนกระทั่งถูกตัดออกจากพระศาสนจักรเพราะเป็นเฮเรติก  เนื่องจากไปยึดถือคำสอนของ
พระอัยกาเนสเตอร์แห่งคอนสตันติโนเปิล (ค.ศ. 386-451) ที่สอนเรื่องสภาพความเป็นพระและมนุษย์ของพระเยซูคริสตเจ้า
ไม่ตรงตามแนวทางของพระศาสนจักร แต่ภายหลังก็ได้กลับคืนสู่อ้อมอกของพระศาสนจักรอีกครั้งหนึ่งในนามของ
คาทอลิกจารีตตะวันออก สายคาลเดีย

ปัจจุบันคาทอลิกสายคาลเดียในอิรักถูกกดดันให้เปลี่ยนไปถืออิสลาม
และหากผู้เป็นบิดาหรือมารดาเปลี่ยนไปถืออิสลามแล้ว
สมาชิกของครอบครัวทุกคนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจะถูกบังคับให้ถือ
ศาสนาอิสลามด้วย โดยไม่คำนึงถึงความคิดเห็นของผู้ปกครองอีกฝ่ายหนึ่ง
ที่ยังคงเป็นคาทอลิกอยู่


เนื่องจากบุตรหลานของครอบครัวคริสต์ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาในโรงเรียนคริสต์ที่มีการสอนภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะ
ภาษาอังกฤษ ดังนั้นกองกำลังต่างชาติจึงมักจ้างคนคริสต์ทำงานด้านบริหารและงานแปลอย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป
คริสตชนจจะรู้สึกตกอยู่ในอันตราย เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าเป็นสายลับ ร่วมมือกับต่างชาติในการ “ยึดครองประเทศ
โดยประเทศที่ถือศาสนาคริสต์”

นักศึกษาที่ถือคริสต์ในมหาวิทยาลัยอิรัก จะถูกรังควานและตกเป็นเหยื่อความรุนแรงอยู่เสมอ และเมื่อไม่นานมานี้
นักศึกษาคริสต์ 1500 คน ในมหาวิทยาลัยมอสโซล ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยใหญ่อันดับสองของประเทศจำใจตัดสินใจพักการเรียน
เพราะมหาวิทยาลัยถูกควบคุมโดยผู้นับถืออิสลามที่ขู่จะฆ่านักศึกษาคริสต์ โดยเฉพาะนักศึกษาหญิงที่ไม่สวมผ้า
ปิดหน้า

ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2004 วัดคาทอลิก 10 แห่งถูกโจมตีทั้งที่กรุงแบกแดด
ที่เมืองมอสโซลและเมืองทางเหนือของประเทศมักถูกกล่าวหาว่าเป็นสายลับ
ให้ต่างชาติ และถูกกระทำทารุณกรรมต่างๆนานา
มีจำนวนมากอพยพไปลี้ภัยอยู่ใน
ประเทศซีเรีย เนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่ต้องใช้วีซ่า และเสียค่าใช้จ่ายน้อยเพื่อแลกกับความปลอดภัยที่ได้รับ
จอร์แดนก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีชาวอิรักที่เป็นคริสต์จำนวนมากลี้ภัยอยู่  นอกจากนั้นยังมีชาวคริสต์ที่ตั้งรกรากนับพันปีใน
ประเทศอาหรับอีกจำนวนไม่น้อย พวกเขาถูกบีบบังคับด้วยระบอบการปกครอง หรือไม่ก็ถูกกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงกดดันจน ต้องอพยพทั้งครอบครัวลี้ภัยไปอยู่ในประเทศที่มีความปลอดภัย เช่น ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และบางประเทศ ในทวีปยุโรป