ฐานันดรของเทวดา
คำว่า
angelo ( เทวดา / ทูตสวรรค์ ) มาจากคำในภาษากรีกที่ว่า angelos ซึ่งแปลว่าผู้ถือสาร
/ ผู้ส่งข่าว เทวดาหรือทูตสวรรค์ก็มีลำดับชั้นหรือฐานันดรด้วยเหมือนกันซึ่งเรียกกันว่าคณะ
ในยุคของดีโอนีจีผู้พิพากษาเทียม มีนักเขียนคริสตชนคนหนึ่งในศตวรรษที่
4 เป็นคนแรกที่เขียนในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า
เทววิทยาเพ่งฌานภาวนาและฐานันดรสวรรค์ ได้ให้นิยามอย่างชัดเจนและอย่างพิถีพิถันแก่หน้าที่และฐานันดรของเทวดาเป็นเก้าฐานันดร
ปิตาจารย์หลายท่าน
เช่นนักบุญเกรโกรีองค์ใหญ่และนักบุญยวง แห่งดามาสเชน นักบุญโทมัส อากวีนาสและท่านอื่นๆก็ได้ดำเนินตามทฤษฎีนี้
คณะและลำดับทั้งเก้าชั้นของเทวดามีดังนี้
เทวดา
( วว . 5,11 ดนล . 7,10)
อัครเทวดา
( ธส . 4,16)
ชั้นบัลลังก์
ชั้นการปกครอง
ชั้นนาย
ชั้นอำนาจ
( อฟ . 1,21 ปต . 3,22)
ชั้นคุณงามความดี
ชั้นเครูบิม
( อสค . 10,1-10 ปฐก . 3.24)
ชั้นเซราฟิม
อสย . 6,2-6)
ว่ากันว่าพวกเทวดาอยู่กันตามลำดับชั้นเหล่านี้คือ
ชั้นเทวดา ชั้นอัครเทวดา ชั้นบัลลังก์ ชั้นปกครอง ชั้นนาย ชั้นอำนาจ ชั้นคุณงามความดี
ชั้นเครูบิมและชั้นเซราฟิม
ฐานันดรของบรรดาเทวดาไม่ได้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างทางธรรมชาติ
( เหมือนกับที่มนุษย์เท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ ) นักวิชาการบางคนมีความเห็นว่า
ความแตกต่างกันของเทวดาขึ้นอยู่กับหน้าที่ของแต่ละท่าน แต่ตามความคิดของนักบุญโทมัส
อากวีนาสมันขึ้นอยู่ชั้นของความรักและความศักดิ์สิทธิ์ของแต่ละท่าน เช่นเดียวกันกับที่มนุษย์มีความแตกต่างกันในชั้นของความศักดิ์สิทธิ์
ในเรื่องนี้นักบุญโทมัสเห็นว่า มนุษย์สามารถที่จะเท่าเทียมกับหรืออาจจะสูงกว่าเทวดาก็ได้
เช่นพระแม่มารีทรงสูงกว่าเทวดาทั้งหลาย ไม่ใช่ทางชั้นตามธรรมชาติ เพราะธรรมชาติมนุษย์แล้วแม่พระย่อมต่ำกว่าเทวดา
แต่เพราะชั้นของความศักดิ์สิทธิ์ และพระสงฆ์มีฐานันดรที่สูงกว่าเทวดาเพราะศักดิ์ศรี
ท่านได้เป็นหนึ่งเดียวกันกับบรรดาเทวดาหรือเปล่า
?
ท่านรักเทวดาทั้งหลายไหม
?