วิธีการทำสมาธิ

ข้าพเจ้าขออธิบายถึงวิธีการทำสมาธิก่อน จากนั้นเราก็จะใช้เวลาสักครู่หนึ่งฝึกทำสมาธิร่วมกัน สิ่งแรกที่เราทำเมื่อเรา
ทำสมาธิ คือ “ความเงียบ” ซึ่งหมายความว่าเราต้องอยู่นิ่งๆ และเงียบ ดังนั้นสิ่งแรกที่เราทำคือการนั่งนิ่งๆ เงียบๆ
โดยพยายามทำให้ร่างกายสงบเงียบที่สุดเท่าที่จะทำได้ หมายความว่าท่านต้องไม่ขยับตัวไม่ไอไม่แกะห่อขนมหรือท๊อฟฟี่
ไม่รูปซิปกระเป๋าหรือสั่งน้ำมูก หรือเอาเท้ามาถูกัน ฯลฯ โดยสรุปคือ ไม่ทำให้เกิดเสียงใดๆ ทางร่างกายเลย
นี่คือด่านแรกในการทำสมาธิ นั่นก็คือความเงียบนิ่งทางกาย บางทีนี่อาจจะฟังดูเหมือนเป็นก้าวแรกที่ง่ายๆ ในการเดินทาง
แห่งการเพ่งฌานอันยิ่งใหญ่ แต่เป็นก้าวที่มักจะทำให้ท่านได้เรียนรู้มากมาย ยอห์นเมนกล่าวว่า “เพียงการเรียนรู้ที่จะนั่งนิ่งๆ
ไม่ทำเสียงอะไรก็จะสอนบทเรียนเกี่ยวกับการเดินทางของชีวิตฝ่ายจิตให้แก่ท่านได้มากมายแล้ว”

เพราะสำหรับพวกเราบางคน นี่คือก้าวที่สำคัญ เป็นก้าวแรกที่จะก้าวไปเกินกว่าจะคาดหวังดังนั้น การทำตัวทำใจให้เงียบนิ่ง
ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และอย่างผ่อนคลายแต่จริงจัง จึงเป็นก้าวแรกของการทำสมาธิ

จากนั้น การทำความนิ่งเงียบเป็นเรื่องของ “ภายในใจเรา” (Interior) เป็นความเงียบนิ่งทางใจ ตรงนี้ยากมาก เพราะ
เราจะเริ่มค้นพบว่าพอเรานั่งนิ่งๆ สมองเราจะอยู่นิ่งไม่ได้ เหมือนลิงกระโดดไปมาบนต้นไม้  ใจของเราไม่หยุดนิ่ง
ใจไม่เงียบ แต่กำลังวิ่งเป็นวงกลม กระวนกระวายเต็มไปด้วยความกลัว ความปรารถนา ความเพ้อฝัน ความทรงจำ และ
แผนการต่างๆ ในใจเรา ตามคำกล่าวของนักพรตคริสตชนในยุคแรกของศาสนาเรา (ที่ยอห์นเมนได้เรียนรู้ประเพณีของ
ของการทำสมาธิแบบคริสต์) ความวุ่นวายกระวนกระวายใจและการขาดสมาธิในสมองของเรานี้
คือความหมายที่แท้จริงของบาปกำเนิดของเรานั่นเอง มันเป็น “ความไร้สมรรถภาพของเราที่จะให้ความ
สนใจกับพระเจ้าใน
“ขณะปัจจุบัน’” อะไรจะเรียบง่ายไปกว่าการให้ความสนใจกับ “ขณะปัจจุบัน”?
แต่สิ่งที่เรียบง่ายไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย

พระเจ้าทรงเป็นอยู่ทุกหนทุกแห่ง (God Is!) พระองค์อยู่ที่นี่ !
(God Is Here!) และในขณะนี้! (God Is Now!)
เราก็อยู่ที่นี้! (I am here!) และขณะนี้! (I am now!)
แต่ทำไมจึงดูเหมือนว่าพระองค์ไม่ได้อยู่ที่นี่?
ทำไมจึงดูเหมือนว่าพระองค์ทรงอยู่ห่างไกล? ทำไมบางครั้งจึงดูเหมือนว่ายังกับไม่มีพระเจ้า? สาเหตุไม่ใช่เป็นเพราะพระเจ้าไม่ได้อยู่ที่นี่ หรือไม่มีพระเจ้า แต่เป็นเพราะ “ใจฉันไม่ได้อยู่ที่นี่ ณ ขณะนี้ กับพระเจ้า” ต่างหาก

เมื่อเราทำสมาธิเราเห็นทุกสิ่งที่ว่ามานี้ราวกับเห็นในกระจกเงา ทันทีที่เราเริ่มนั่งลงเพื่อทำสมาธิ เรามองเห็นภาพสะท้อนของ
ตัวเราในใจของเราเอง เห็นเรากำลังสับสน วุ่นวาย กระวนกระวาย (Distracted, turbulent, agitated) ไม่มั่นใจในตัวเอง
(Insecure) หวาดกลัว (Frightened) เป็นคนเห็นแก่ตัวและเห็นแต่ความสำคัญของตัวเองเท่านั้น (Egocentric)
เต็มไปด้วยความฝัน ความเพ้อฝัน (Fantasies) ความกลัว (Fears) ความกังวล (Anxieties) ความโกรธ (Anger) และ
ความกลัวความรุนแรง ถ้าท่านสามารถวิเคราะห์สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในใจของท่านได้ ณ จุดใดจุดหนึ่ง ท่านก็จะพบว่า
มีความคิดเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ท่านได้ทำไปในวันนั้น หรือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ
ที่น่าเศร้าในชีวิตของท่านที่เกิดขึ้นในอดีตนานมาแล้ว เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องของอดีต ถ้าใจของเราจมปักติดยึดอยู่กับอดีต
หรือชื่นชมยินดีเท่าไรนัก เราจะรู้สึกค่อนข้างเศร้าหรือเสียใจ หรือรู้สึกผิด หรือโหยหาอดีต

ถ้าสมองเราไม่วนเวียนอยู่กับอดีต เราก็มักจะหมกมุ่นอยู่กับอนาคต เราจะวางแผนว่าจะทำอะไรในคืนนี้ พรุ่งนี้ ปีหน้า
หรือเมื่อเราเกษียณอายุในอีก 20 ปีข้างหน้า ทันทีที่เราเริ่มวางแผน—ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอดไม่ได้ที่จะทำ เพราะนี่คือวิธีควบคุม
ความเป็นจริงของเรา—เมื่อนั้นเราจะเริ่มรู้สึกกังวล เพราะเรารู้ว่า เราไม่สามารถควบคุมความเป็นจริงในชีวิตได้อะไรก็เกิด
ขึ้นได้ทุกเวลา ด้วยเหตุนี้ทันทีที่เราเริ่มวางแผน หรือคิดถึงอนาคต เราก็จะเริ่มกระตุ้นความกลัวความตายของเราขึ้นมาด้วย

คราวนี้เราจะทำอย่างไร?

เมื่อเราหาความสงบสุขไม่ได้จากอดีต และหาความสงบสุขหรือความปิติยินดีไม่ได้จากการหมกมุ่นอยู่กับอนาคต
ดังนั้นจิตใจเราจึงมองหาที่ที่เราจะหลบหนีไป แล้วมันก็หนีไปหาโลกของดิสนีย์เวิลดิ์ (Disney World)เราหลบเข้าไปอยู่
ในอาณาจักรของความเพ้อฝัน และการฝันกลางวัน (Daydreams) และสนองตัณหาตอนเอง การลอยอยู่ในความ
ในความเพ้อฝันอาจช่วยให้เราหลบหนีความเป็นจริงไปได้สักชั่วขณะหนึ่ง แต่แล้วในที่สุด เราก็ต้องหล่นตุ๊บกลับลงมาสู่โลก
แห่งความเป็นจริงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้น เราก็ไม่พบกับความสงบสุขและความชื่นชมยินดีมากนักแม้แต่ในโลก
แห่งความเพ้อฝันของดิสนีย์เวิลดิ์ก็ตาม

แล้วเราจะไปที่ไหนกัน?

คำถามนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางฝ่ายจิต (Spiritual journey) ซึ่งเราจะได้เห็นในความแตกต่างระหว่าง
สภาวะจิต (State of mind) ทั้งสามแบบคือ- -“การอยู่กับอดีตอยู่กับอนาคต และอยู่กับการฝันกลางวัน” ไม่มีสภาวะใดที่จะ
ให้ความสงบสุข หรือความพึงพอใจที่ลึกซึ้งหรือความสุขแก่เราได้ เราไม่อาจจะรู้สึกถึงความชื่นชมยินดีและความสุขอัน
บริสุทธิ์ในสภาวะทั้งสามนี้ แล้วเราจะหันไปทางไหนล่ะ? ที่ไดล่ะที่มีความสงบสุข? ที่ใดล่ะที่มีความชื่นชมยินดี? เราจะมองหา
จากภายนอกหรือ? ถ้าเช่นนั้นจากที่ไหน? ในที่สุดการแสวงหาและการพิเคราะห์แยกแยะเช่นนี้จะนำเรากลับไปสู่สถานที่เดียว
ที่เราจะพบพระเจ้าได้จริง นั่นก็คือ “ที่นี่” (HERE) และเวลาเดียวที่เราสมารถจะสัมผัสพระเจ้าได้ นั่นก็คือ “ขณะนี้” (NOW)

นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่าการเพ่งพิศภาวนา (Contemplation) หรือชีวิต
เพ่งพิศภาวนา (the comtemplative way of life) หรือสภาวะจิตที่
เพ่งพิศภาวนา (a contemplative stare of mind) คือ
“การดำรงอยู่ในขณะปัจจุบัน” (Living, being, in the present
moment) และนี่คือสิ่งที่เราฝึกปฏิบัติเมื่อเราทำสมาธิ ดังนั้นเมื่อเรา
เริ่มทำสมาธิในอีกสักครู่ จิตใจของเราจะวิ่งวนไปรอบๆ กลับไปกลับมา
จากอดีตไปอนาคต สลับกับการฝันกลางวัน สิ่งที่เราทำระหว่างช่วงเวลา
ของการทำสมาธิดังกล่าวนี้ คือการแสดง “ความมุ่งมั่นใส่ใจ” (Attention)
กับ “ขณะปัจจุบัน” (The present moment) นี่อย่างเต็มที่สุดๆ
เท่าที่เราจะทำได้

เราต้องมีวิธีการเพื่อนที่จะช่วยให้เราทำเช่นนี้ได้ และเรามีหลักฝึกปฏิบัติที่ง่ายมาก (Simple discipline)
- -คือ “การฝึกฝนฝ่ายจิต” (the spiritual practice) - - -เป็นวิธีการที่เรียบง่ายมากที่ท่านจะพบได้ในศาสนาใหญ่ๆ
ทุกศาสนา ยอห์นเมน ค้นพบวิธีการนี้ขณะที่เขาใช้ชีวิตอาศัยอยู่ในเอเชีย ต่อมาเขาได้ค้นพบว่านี่คือส่วนหนึ่งของธรรม
ประเพณีคริสตชนในยุคแรก
เมื่อเขาศึกษาจากข้อเขียนและคำสั่งสอนของนักพรตคริสตชนในยุคแรกหรือที่เรียกว่าบรรดา
ปิตาจารย์ที่ดำรงชีวิตในทะเลทราย (The Fathers and Mothers of the Desert) สิ่งที่บุคคลเหล่านี้แนะนำคือการใช้ “มันตรา” (Mantra)”