ในยุคแรกเริ่มพระศาสนจักร บรรดาคริสตชนยังได้ให้ความสำคัญต่อพระนางเป็นพิเศษ ในปี 431 สภาแห่งเอเฟซัส ได้ให้การรับรองพระนางว่าทรงเป็น “Theotokos” หรือ พระมารดาของพระเจ้า แต่เป็นที่ยอมรับกันว่าการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในเรื่องของพระนางมารีย์นั้นมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับเรื่องของพระเยซูเจ้าที่ถูกเน้นหนักมากกว่าเป็นพิเศษ เรื่องแนวคิดว่า “พระบุตรของพระนางมารีย์” กับ “พระผู้ไถ่” เป็นคนละคนกัน ถูกถือว่าเป็นแนวความคิดที่นอกรีตเทียมเท็จ

ข้อเชื่อนี้ทำให้ ข้อเชื่อเรื่อง “การที่พระเจ้าทรงรับเอากายเนื้อหนังมาบังเกิดเป็นมนุษย์”กลายเป็นเรื่องที่เป็นนามธรรมน้อยลงด้วยการยอมรับว่าพระองค์มีพระมารดาเป็นมนุษย์ และ ข้อเท็จจริงว่าทรงประสูติจากพระนาง

เมื่อเวลาผ่านไป บทบาทพระนางมารีย์พระมารดาของพระเจ้าก็ถูกรวมเข้ากับบทบาทในฐานะอื่นๆเพิ่มมากขึ้น เช่นในยามที่นักบวชได้ทำรำพึงจิตภาวนาถึงพระมหาทรมานของพระเยซูคริสต์ พระนางมารีย์ก็มีบทบาทในฐานะผู้ร่วมในพระมหาทรมานอย่างพิเศษ จากนั้นจึงมีการเรียกแม่พระว่า “มารดามหาทุกข์” และพระนางมารีย์ก็ได้ถูกเรียกว่า “ราชินีสวรรค์” “พระชนนีของพระเป็นเจ้า” “พระแม่แห่งความเมตตากรุณา” และอื่น ๆ โดยแต่ละพระนามก็สะท้อนแต่ละคุณลักษณะของพระนาง แต่ฉายาที่สำคัญที่สุดคือ คนกลางผู้เปี่ยมเมตตาของมวลมนุษย์ ในขณะที่ทางศาสนจักรก็เติบโตขึ้นโดยเน้นบทบาทของพระคริสต์ในฐานะผู้พิพากษาที่เที่ยงธรรม ผู้ตัดสินที่เข้มงวดในวันพิพากษาครั้งสุดท้ายได้ทำให้เกิดช่องว่างขึ้น และบรรดาผู้เชื่อมองพระแม่มารีย์ว่าเป็นผู้ช่วยแก้ต่างคนพิเศษของพระเยซู ที่จะช่วยเป็นทนายให้เรา ในปี 1568 สมเด็จพระสันตะปาปา ปิอัส ที่ 5 ได้ทรงเติมประโยค “โปรดภาวนาเพื่อเราคนบาป บัดนี้และเมื่อจะตาย” เข้าไปในบทสวดวันทามารีอา ซึ่งประชาชนอาจเพียงสวดด้วยความเคยชิน

ฟิลิป เมลังค์ทอน นักปฏิรูปศาสนาหัวรุนแรงในช่วงปี 1500 กล่าวว่า ผู้ศรัทธาพากันร้องเพลงสวดสรรเสริญว่า “ข้าแต่พระมารดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระนางสถิตในสวรรค์…” เขาแสดงความคิดเห็นอีกว่า “ความจริงเรื่องนี้คือ ผู้คนแทนที่พระเยซูด้วยพระนางมารีย์”