เบาะแสในพระคัมภีร์ : กาเวนต้า นักเทววิทยาแห่งโรงเรียนสอนศาสนา พรินเซต้อน แปลกใจมากเมื่อพบว่าเรื่องของพระนางมารีย์ถูกพูดถึงน้อยเพียงไรในหมู่นักวิชาการโปรแตสแตนท

ในปี 1989 เบเวอรี่ กาเวนต้า ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ แห่ง พรินเซตอน ได้รับการติดต่อให้เขียนบทความเกี่ยวกับพระนางมารีย์ เพื่อนำไปรวมกับบทความงานเขียนอื่นๆของหนังสือ “บุคคลสำคัญในพันธสัญญาใหม่” (Personalities of the New Testament) ตัวเธอนั้นไม่ค่อยรู้อะไรมากเท่าไหร่เกี่ยวกับเรื่องของพระนางเลย แต่เธอยิ่งแปลกใจมากกว่านั้นที่เพื่อนๆของเธอคนอื่น ๆ ก็ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้เช่นกัน

“เรายินดีมากกว่าที่จะพูดพรรณนาถึง มารีย์ มักดาลีน หรือพูดถึงใครก็ตามที่เรารู้จักมากกว่านี้”เธอกล่าว

“คุณสามารถหาบทความ งานเขียน จำนวนนับไม่ถ้วนเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ในพระคัมภีร์ แม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อยๆ อย่างเรื่องความสงสัยของนักบุญโทมัส แต่เรื่องของพระนางมารีย์ที่เชิงกางเขนกลับมีอยู่น้อยเอาเสียมาก ๆ ”

เธอยังมีเรื่องที่น่าตกตะลึงเสียยิ่งกว่านี้อีก ในตอนที่เธอได้รับเชิญให้ไปกล่าวบรรยายที่โบสถ์ของพวกเขา

“ดิฉันจะพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับพระนางมารีย์เสียหน่อย” เธอกล่าวก่อนเริ่มบรรยาย ก่อนจะตามมาด้วยความเงียบตะลึงงงงันของผู้ฟัง

“คือว่า พวกเราเป็นโปรแตสแตนท์กันเกือบทั้งหมดนะครับ” ผู้ฟังตอบกลับมา


เรื่องนี้อาจดูเป็นเรื่องน่าอายสำหรับตัวเธอ แต่ในความเป็นจริงแล้วเธอบอกว่าเธอพยายามจะสื่อถ่ายทอดเรื่องของพระแม่มารีย์ลงไปในวิธีแบบโปรแตสแตนท์

“เรา โปรแตสแตนท์ ภูมิใจที่เราเป็นคนรู้พระคัมภีร์ หมั่นอ่านพระคัมภีร์อยู่เป็นนิจ ดังนั้นเรามาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ และดูสิว่าเราพบอะไรในนั้นบ้าง”

เรื่องที่เธอได้พูดออกไป และ เรื่องที่ชาวโปรแตสแตนท์ละเลยมาเป็นเวลาร่วมศตวรรษ เป็นเรื่องของสตรีผู้หนึ่ง ที่ถูกพูดถึง และ ปรากฏในพระคัมภีร์ ในแบบที่แยบยล และ เด่นชัดยิ่งกว่าบุคคลอื่นใดในพระคัมภีร์ รองจากพระเยซูเจ้า ใช่แล้ว จากเหตุการณ์เทวทูตแจ้งสารแก่พระนางนั่นเอง จากคำถามของพระนางที่ถามว่า

“เหตุการณ์นี้จะเกิดกับข้าพเจ้าได้อย่างไร ในเมื่อข้าพเจ้าไม่มีสามี”
กับการตามมาด้วยการยินยอมอย่างเต็มตัวของพระนาง (หลังได้รับคำตอบจากเทวดากาเบียรล)
จากคำสั้น ๆ ง่าย ๆ แต่แสดงถึงการถวายตัวของพระนาง ว่า

“ขอให้เป็นไปตามนั้นเถิด”
(Let it be)


และบทที่เด่นชัดรองลงมาคงไม่พ้นเรื่องที่พระนางเสด็จไปเยี่ยมนางเอลีซาเบ็ธ

กับบทสดุดีของพระนางที่เริ่มต้นว่า

“วิญญาณข้าพเจ้าถวายสดุดีแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า...” (ที่มาของบท Magnificat)

ตามมาด้วยการพยากรณ์ว่า

“ตั้งแต่นี้ต่อไปคนทุกยุคทุกสมัยจะเรียกข้าพเจ้าว่าเป็นผู้มีบุญ”


บททั้งหมดนี้มีกล่าวถึงในพระคัมภีร์อย่างชัดเจน และ แยบยล โดยไม่อาจจะปฏิเสธหรือละเลยไปได้
ทั้งหมดนี้สื่อแสดงอย่างชัดเจนว่า “ทรงคว่ำผู้ทรงอำนาจจากบัลลังก์ และทรงยกย่องผู้ต่ำต้อยให้สูงขึ้น
พระองค์ประทานสิ่งดีทั้งหลายแก่ผู้อดอยาก ทรงส่งเศรษฐีให้กลับไปมือเปล่า”

ในขณะที่ทุก ๆ คนจำบทบาทของพระนางมารีย์ในฐานะผู้ให้กำเนิดพระผู้ไถ่ ได้ในเดือนธันวาคมของทุกปี แต่หลาย ๆ คน กลับลืมบทบาทของพระนางหลังจากนั้นเสียสิ้น เหตุการณ์หลาย ๆ เหตุการณ์ที่เกิดตามมาหลังจากนั้น การถวายพระกุมารในพระวิหาร กับการเข้าเฝ้าพระกุมารของ ซีเมโอน และประโยคที่เขาพูดว่า “ดาบจะแทงทะลุจิตใจของท่าน”

เช่นกัน ในบทบาทของพระนางในการตามหาพระกุมารวัย 12 ที่หายตัวไป และบทบาทของพระนางที่ด้วยการขอร้องของพระนาง พระเยซูจึงได้ทรงกระทำการอัศจรรย์ครั้งแรกในการเปลี่ยนน้ำเป็นเหล้าองุ่นที่งานแต่งงานที่คานา แต่การละเลยแสร้งทำเป็นไม่เห็นไม่สนใจในเหตุการณ์ และบทบาทของพระนางทั้งหมดนี้ยังไม่เท่ากับการละเลยต่อเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุด คือ บทบาทของพระนางแทบเชิงกางเขน แม้พระวรสาร 3 บทแรกจะไม่ได้กล่าวตรง ๆ ถึงพระนาง แต่เราก็แน่ใจได้ว่าพระนางอยู่ด้วยตั้งแต่ต้นจนจบ เห็นและสัมผัสถึงพระมหาทรมานทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับพระบุตรของพระนาง

ก่อนยามที่พระเยซูจะสิ้นพระชนม์ พระองค์ตรัสกับพระนางว่า

“หญิงเอ๋ย จงแลดูบุตรของท่านเถิด”

แล้วจึงตรัสกับอัครสาวกยอห์นว่า

“บุตรเอ๋ย จงแลดูมารดาของท่านเถิด”

ส่วนบทบาทสำคัญสุดท้ายของพระนางคือการได้รับพระจิตเจ้าร่วมกับบรรดาอัครสาวก ในฐานะสตรีเพียงคนเดียว ณ ที่นั้น ที่ได้รับพระจิตเจ้า ทั้งหมดนี้คือบทบาทสำคัญของพระนางมารีย์ที่ปรากฏอย่างเด่นชัดในพระคัมภีร์ แต่บทบาทเหล่านี้ของพระนางกลับถูกละเลยมองข้าม หรือไม่ให้ความสำคัญที่คู่ควรเพียงพอ ไปอย่างน่าเสียดาย