วันเพนเทคอส:
หลังจากพระเยซูเจ้าทรงสิ้นพระชนม์ และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ หนังสือกิจการอัครสาวก
บันทึกว่า บรรดาศิษย์ได้มาชุมนุนกันในห้องชั้นบนในเยรูซาเลม กลุ่มนี้สามารถเข้าใจในธรรมประเพณีได้ว่าเป็นศูยน์กลางของคริสตจักรใหม่ที่พระเยซูตั้งขึ้น
พระจิตเจ้าเสด็จลงมาเหนือทุกคน ในการปรากฏตัวครั้งสุดท้ายของพระนางในพระคัมภีร์
พระนางมารีย์ เป็นสตรีเพียงคนเดียวในห้องนั้นที่ถูกระบุชื่อ นี่เป็นสัญญาณว่าเธอเป็นศิษย์คนสำคัญยิ่ง
กาเวนต้าได้ข้อสรุปว่าถึงแม้ไม่มีการบันทึกประวัติ
หรือ เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ของพระนางเอาไว้ แต่
ไม่มีตัวอย่างของใครอื่นใดเลยที่สามารถเทียบกับพระนางได้
เธอกล่าว พร้อมอธิบายเพิ่มเติมว่า ไม่เคยมีใครเลยแม้แต่คนเดียวทั้งก่อนหน้านี้และตลอดไปที่จะ
ปรากฏอยู่ใน 3 เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดของพระเยซูเช่นพระนาง
คือ ยามพระองค์ประสูติ ยามพระองค์สิ้นพระชนม์ และ หลังพระองค์สิ้นพระชนม์และประทานพระจิตเจ้าลงมา
กาเวนต้ายืนยันว่าโปรแตสแตนท์พยายามที่จะเลี่ยงที่จะไม่รับรู้ถึงสิ่งสารพันที่พระเป็นเจ้าได้ทรงกระทำต่อพระนางมารีย์
มากกว่าจะพูดถึงพระนางมารีย์
คุณก็อาจทำแบบเดียวกันกับอัครสาวกเปโตรได้ โดยการอ้างว่าเขาไม่ใช่สาระสำคัญในบทพระวรสาร
และเรื่องที่บันทึกไว้ทั้งหมดก็ไม่ได้เน้นที่ตัวเขาเป็นหลัก กาเวนต้า
กล่าว
แต่คุณไม่สามารถห้ามไม่ให้คนพูดถึงคุณความดีงามของนักบุญเปโตร ในฐานะแบบอย่างที่ดี
ที่เราสามารถเรียนรู้และเอาอย่างท่านได้
กาเวนต้าได้ประพันธ์หนังสือไว้เล่มหนึ่ง ซึ่งมีชื่อหนังสือว่า
พระนางมารีย์ ชำเลืองดูพระมารดาพระเยซูเจ้า (Mary
: Glimpses of the Mother of Jesus) จากเนื้อหาในหนังสือเล่มนั้นรวมกับงานประพันธ์
และ บทความต่าง ๆ ของเธอ เธอเริ่มที่จะหาชื่อเรียกตำแหน่งแทนพระนางมารีย์ใหม่
ชื่อตำแหน่งที่ไม่ใช่ ราชินีแห่งสวรรค์ แต่ต้องเป็นชื่อที่เข้ากับทางโปรแตสแตนท์มากกว่านี้
และหนึ่งในตำแหน่งฉายาที่เธอใช้เรียกพระนางคือ
ปฐมศิษย์ ซึ่งสื่อถึงความเป็นศิษย์คนแรกของพระนางต่อพระเยซูเจ้า
โดยทั่วไปเราจะคิดว่าวลีที่พระนางได้กล่าวไว้ว่า
ขอให้เป็นไปตามนั้น (Let it be ) แสดงถึงการนบนอบเชื่อฟังในพระเจ้าของพระนาง
แต่กาเวนต้ามองตรงจุดนี้ต่างออกไป เธอมองว่าไม่ใช่เพียงแค่การเชื่อฟังพระเป็นเจ้าเท่านั้น
แต่เป็นการแสดงการยอมรับ คือ ยอมรับว่าพระเยซูเจ้าคือพระผู้ไถ่
ยอมรับว่าบุตรที่จะเกิดในครรภ์ของพระนางเป็นพระผู้ช่วยให้รอดจริง ๆ เป็นการแสดงความเชื่อและยอมรับทั้ง
ๆ ที่ยังไม่ได้เห็นก่อนหน้าผู้ศรัทธาคนอื่น ๆ จะเชื่อเสียอีก
บทความจาก คริสเตียนวันนี้ (Christian Today) ของ
ทิโมธี จอร์จ ผู้เป็น คณะบดีของ โรงเรียน บีซัน ดีวินิตี้ ที่ มหาวิทยาลัย
แซมฟอร์ด ในเบอร์มิงแฮม อัลบามา ได้แสดงทรรศนะต่อเรื่องนี้เอาไว้ว่า
ถ้าตอนนั้นพระนางไม่เชื่อ พระนางก็คงไม่ทรงครรภ์
กาเวนต้ายังพูดเน้นย้ำถึงบท Magnificat อีกด้วย บทสรรเสริญนี้ทำให้เรานึกถึงสำนวนโวหาร
บทกวีลำนำที่ปรากฏในพันธสัญญาเดิมของบรรดาประกาศก ซึ่งสะท้อนสภาพสังคม
และสื่อความหมายผ่านออกมาในสัมผัสที่ไพเราะของบทกวีนิพนธ์ แต่กาเวนต้ามองว่าสิ่งนี้ทำให้พระนางเป็นประกาศกคนหนึ่งด้วย
ทั้งจากสำนวนโวหาร และเนื้อหาการประกาศของพระนางที่ว่า
ในพระเยซูคริสตเจ้า พระเป็นเจ้าทรงล้มล้างสิ่งที่เป็นอยู่
ซึ่งก็เป็นหนึ่งในภารกิจหลักที่พระองค์ได้ทรงทำในเวลาต่อมา
สก็อต
แม็คไนท์ ได้ประพันธ์บทหนึ่งไว้ในหนังสือของเขา ข้อความเชื่อของพระเยซูเจ้า
(The Jesus Creed) เอาไว้ว่า บท Magnificat เป็นเสมือนบทสรุปรวมที่รวมคุณธรรม
ความดีงาม และคำสั่งสอน ทั้งหมดของพระเยซูเจ้าเอาไว้ โดยเขาเปรียบเทียบกับผ้าอ้อมเด็กในช่วงศตวรรษที่
1
ผมคิดว่าพระนางกล่อมพระกุมารให้หลับด้วยบทเพลงสวดบทนี้
บทเพลงสวดอันล้ำลึกที่มีอิทธิพลต่อพระเยซูคริสตเจ้าด้วย สก็อตกล่าว