Creation
and Evolution
ทฤษฎีวิวัฒนาการ
เราอาจให้คำนิยามของการวิวัฒนาการว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในช่วงเวลาหนึ่งๆ
โดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพทางพันธุกรรมเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมนั้นๆ
และไม่มีปัจจัยใดมาเกี่ยวข้องกับสาเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงนั้น ซึ่งการพิจารณากระบวนการนี้มีด้วยกัน
2 ระดับ คือ แนวคิดสมัยใหม่เรื่องการวิวัฒนาการโดยใช้แนวคิดของดาร์วินเป็นฐานในการศึกษาซึ่งยึดแนวคิด
การคัดสรรค์โดยธรรมชาติ (Natural Selection) และความรู้อื่นๆที่ยังไม่รู้ในยุคของดาร์วิน
มาประกอบกันเพื่อช่วยให้แนวคิดเรื่องวิวัฒนาการขยายขอบเขตมากขึ้น
นอกจากนี้กระบวนการวิวัฒนาการยังหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
หรือ รูปแบบทางสรีระ (phenotype) ด้วย โดยสิ่งที่สนับสนุนแนวคิดนี้คือการเปลี่ยนแปลงของชายหญิงที่เกิดรุ่นต่อๆมาอันมีผลจากการเปลี่ยนแปลงของรุ่นก่อนมามีอิทธิพล
รวมทั้งผลจากปัจจัยของสภาพแวดล้อม และ ธรรมชาติคัดสรรค์ แนวคิดที่ว่ามนุษย์มีระดับการวิวัฒนาการต่างกัน
และแม้แต่อวัยวะต่างๆในคนๆเดียวกันก็ยังมีวิวัฒนาการต่างกัน ซึ่งเราเรียกว่า
mosaic evolution
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าช่วงเวลาที่มีผลต่อการวิวัฒนาการของมนุษย์ต้องใช้เวลาอย่างน้อย
3-4 ล้านปี ช่วงเวลาขนาดนี้ภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปมาก
รวมถึงยุคน้ำแข็ง และ ช่วงเวลาอบอุ่นด้วย ซึ่งสามารถตั้งสมมุติฐานตรงนี้ได้จากการอ้างอิงทางธรณีวิทยา
โดยการศึกษาจากฟอสซิลดึกดำบรรพ์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิเวศน์ในยุคดึกดำบรรพ์
ร่วมกับการศึกษาฟอสซิล กระดูก กะโหลก ฟัน และเครื่องมือเครื่องใช้ดึกดำบรรพ์ซึ่งทำจากกระดูกสัตว์
หิน ไม้ และอื่นๆ ทำให้เราทราบถึงสภาพโลกเวลานั้น เชื้อสาย และ ตระกูลสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตต่างๆ
มนุษย์เกิดขึ้น
ดำรงอยู่ และ สูญพันธุ์ไป ซึ่งรวมถึง มนุษย์วานร (hominid) ด้วย
สายพันธุ์เดียวของมนุษย์ที่เหลือรอด คือ โฮโมเซเปี้ยน (Homo Sapien)
เป็นหนึ่งในกว่า 200 สายพันธุ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจากยุคดึกดำบรรพ์
และจากสายพันธุ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด มีสายพันธุ์มนุษย์วานรที่ใกล้เคียงกับมนุษย์ที่สุด
นักชีววิทยาชาวอังกฤษนาม
T.H. Huxley กล่าวไว้ว่า
ไม่ว่าจะศึกษาระบบอวัยวะใดๆ โครงสร้างความแตกต่างที่แยกระหว่างมนุษย์กับลิงกอริลลา
และ ลิงชิมแพนซี นั้นมีไม่มากนัก ต่างกับความแตกต่างระหว่างกอริลลา
กับลิงสายพันธุ์อื่นที่ต่ำลงมาซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
โดยได้มีความพยายามในการศึกษาเปรียบเทียบมนุษย์ปัจจุบันกับลิง
ape ของแอฟริกามาแล้ว ในการศึกษาพัฒนาการทางด้านวิวัฒนาการนี้ แม้แต่หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็ไม่สามารถให้คำตอบเรื่องการวิวัฒนาการจากมนุษย์วานรได้
ตัวอย่างเช่นปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของลำตัว และ แขน ขา การเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลัง
ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับต้นกำเนิดที่แท้จริงของมนุษย์วานรยังเป็นปริศนาอยู่
และทำให้เราไม่รู้ว่าสายพันธุ์ โฮโมเซเปี้ยน นี้มาจากไหน หรือ กำเนิดมาได้อย่างไรด้วย
มีฟอสซิลที่แอฟริกาซึ่งแสดงถึงการพัฒนาวิวัฒนาการของสายพันธุ์โฮโมนี้
คือ โฮโมอีเรคตัส (Homo-Erectus) ในช่วงต้นของยุค Pleistocene ผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปยูเรเซีย
( ที่รวม Asia กับ Europe เข้าด้วยกัน ) มนุษย์ที่พบอาศัยอยู่นั้นหายไป
ราวๆ 1.5 ล้านปีก่อน เรารู้จักโฮโมอีเรคตัสจากฟอสซิลที่เอเซียตะวันออก
และ ตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีอายุระหว่าง 1.6-250,000 ล้านปี ส่วนทั้งหมดที่ถูกพบช่วง
500,000-300,000 ปีมานั้น ไม่ใช่รูปแบบโฮโมอีเรคตัส แต่เป็นสายพันธุ์โฮโมเซเปี้ยนแทน
ดังนั้นปริศนาเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาในช่วงนั้นจึงยังเป็นคำถามที่ถกเถียงหาคำตอบที่แน่ชัดกันอยู่
หากโฮโมอีเรคตัสที่พบในแอฟริกันเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์วานรในเวลาต่อมา
เราก็สามารถอธิบายได้ว่ากระบวนการวิวัฒนาการมีความต่างกันมากจากสภาพทางธรณีวิทยาที่ต่างกัน
ตัวอย่างเช่น โฮโมอีเรคตัสเป็นเหมือนลักษณะเฉพาะของทางเอเซียกลาง
แต่ส่วนกระโหลกของมนุษย์วานรแถบตะวันตกของยูเรเซียกลับมีลักษณะไม่เหมือนกัน
นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยในยุค Pleistocene ตอนกลาง และนอกจากนี้ยังมีความผันแปรในสายพันธุ์จากสายพันธุ์ที่ดูแข็งแรง
เหมือนอีเรคตัส ไปเป็น นีแอนเดอร์ธัล (Neanderthal)
เป็นเวลาหลายปีที่
นีแอนเดอร์ธัล ถูกจัดเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่ง ( โฮโม นีแอนเดอร์ธัล
) แต่ภายหลังถูกจัดหมวดหมู่เป็นสายพันธุ์รองของโฮโมเซเปี้ยนอีกที
ในยุโรปพบหลักฐานของนีแอนเดอร์ธัลกลุ่มสุดท้ายกับกลุ่มอีกกลุ่มที่เรียกว่าโครมันยอง
(Cro-Magnon) ในเอเซียตะวันออกมีหลักฐานเกี่ยวกับโฮโมเซเปี้ยนโบราณ
แต่กลับไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่าจากโฮโมอีเรคตัสกลายมาเป็นโฮโมเซเปี้ยน
หรือ โฮโมเซเปี้ยนมาแทนที่ได้อย่างไรนั้น
หลักฐานทางฟอสซิลของมนุษย์ยุคแรกแสดงถึงความแตกต่างของขนาดทางโครงสร้างร่างกาย
โดยที่เพศหญิงจะสูงประมาณ 3-4 ฟุต และหนัก 60-70 ปอนด์ ส่วนเพศชายสูง
5 ฟุตขึ้นไป หนักประมาณ 150 ปอนด์ พัฒนาการของมนุษย์อีกอย่างคือขนาดของหน้า
และ ฟัน เล็กลง โดยที่สายพันธุ์ก่อนหน้านั้นมีฟันที่ใหญ่กว้างเหมือนฟันสัตว์กินเนื้อ
ในขณะที่รุ่นต่อๆมากลับมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าฟอสซิลกระดูก
และ ฟัน จำนวนมากถูกค้นพบ แต่ความสัมพันธ์ของกระบวนการวิวัฒนาการระหว่างมนุษย์
และ ลิง ยังเป็นข้อถกเถียงทางวิทยาศาสตร์ เพราะไม่มีฟอสซิลใดเลยที่แสดงลำดับวิวัฒนาการต่อเนื่องไม่ขาดตอนของสายพันธุ์มนุษย์
การเปรียบเทียบเลือด
โปรตีน และ DNA ของลิง ape แอฟริกากับมนุษย์ ทำให้เราทราบว่า ลำดับการวิวัฒนาการที่มาถึงมนุษย์ปัจจุบันไม่ได้ถูกแยกออกจากลิงกอริลลา
และ ชิมแพนซี จนกระทั่งช่วงท้ายของการวิวัฒนาการ จากแผนลำดับนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปว่า
เวลาของกระบวนการวิวัฒนาการที่แยกออกไปน่าจะตกราวๆ 6-8 ล้านปีก่อน
ส่วนบันทึกหลักฐานมนุษย์วานรก็แสดงว่ามีอยู่ 5 ล้านปีมาแล้ว การศึกษาทั้งหมดอาศัยหลักฐาน
คือ ฟอสซิล ดังนั้นหากอนาคตพบฟอสซิลเพิ่มมากขึ้นเราก็น่าจะไขข้อกระจ่างปัญหาหลายๆอย่างได้
แต่กระนั้นก็ดีทุกอย่างเริ่มขึ้นจากเซลเพียงเซลเดียว