วิทยาศาสตร์
ปรัชญา และศาสนา
คุณพ่อยัง ดังโตแนล
การพัฒนาอย่างรวดเร็วของวิทยาศาสตร์ในสมัยปัจจุบัน
เปลี่ยนโฉมหน้าของวัฒนธรรมทั่วไป มีคนมากมายที่ไว้ใจวิทยาศาสตร์จนถึงทำให้คุณค่าของวัฒนธรรมเปลี่ยนไปหรือหายไปเลย
" ฟาสท์ฟู๊ด" และ "กางเกงยีนส์" มาแทนวิธีการกิน
และวิธีการแต่งกายตามประเพณีเดิม ในโลกตะวันตก การก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ได้ทำให้เกิดวัตถุนิยม
นักปรัชญาและคนอื่น ๆ หลายคนถือว่าวิทยาศาสตร์มาแทนศาสนา และความเชื่อถึงพระเป็นเจ้า
เป็นทัศนคติ โบราณล้าสมัย ในโลกตะวันออก การก้าวหน้าของวิทยา-ศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่ได้ลบล้างศาสนา
แต่หลายคนยืนยันว่า อีกไม่นานศาสนาจะหมดสิ้นไปเช่นเดียวกัน เพราะว่า
แนวคิดสองอย่างนี้อยู่ด้วยกันไม่ได้ มีคนมากที่ใช้ข้อสรุปหรือข้อพิสูจน์ของวิทยาศาสตร์
เพื่อจะปฏิเสธพระเป็นเจ้า หรือแสดงว่าศาสนาคือความเชื่องมงายที่จะเข้ากับวิทยาศาสตร์ไม่ได้เลย
บรรดาปัญญาชนหรือผู้ที่มีการศึกษาระดับสูงส่วนใหญ่คงคุ้นเคยวิธีการของวิทยา-ศาสตร์
มีความรู้อย่างละเอียดในด้านนี้ แต่อาจจะมีความรู้น้อยเกี่ยวกับศาสนา
ซึ่งทำให้เกิดช่องว่าง หรือขาดความสมดุลระหว่างความรู้สองประเภท
ประเภทหนึ่งมีเหตุมีผล อีกประเภทหนึ่งมีแต่ความเชื่อที่ขาดรากฐานลึก
ๆ จากนั้นมีแนวโน้มว่าจะไว้ใจวิทยา-ศาสตร์มากกว่าศาสนา
จุดประสงค์ของบทความนี้คือ การแสดงว่าวิทยาศาสตร์ไม่ขัดแย้งกับศาสนา
ไม่น่าจะเป็นอุปสรรคต่อความเชื่อหรือการยอมรับพระเป็นเจ้า ก่อนอื่นเราจะพิจารณาจุดเริ่มของศาสนา
ข้อที่สองจะพูดถึงเป้าหมายและขอบเขตของวิทยาศาสตร์และสุดท้ายเราจะดูว่าเหตุผลหรือพื้นฐานของศาสนา
และโดยเฉพาะของการยอมรับพระเป็นเจ้าอยู่ที่ไหน วิทยาศาสตร์และศาสนาไม่เป็นศัตรูกันเป็นความรู้สองระดับที่แตกต่างกัน