คำสอนสำคัญอีกข้อหนึ่งของพระเยซูเจ้า อยู่ในวลีของพระองค์ที่ว่า “ไม่มีใครเป็นศิษย์ของเราได้เว้นแต่
(No one can be a follower of mine, unless they renounce all their possessions)
นั่นหมายความว่าอะไร? จะให้ความหมายว่า “การละทิ้งสมบัติทั้งหมด” นั้น แปลว่าเราทุกคนจะต้องสละกระเป๋าเงิน
ของเราที่เรามีอยู่ในตอนนี้ รวมทั้งบัตรเครดิตของเรา รถยนต์ บ้าน และเสื้อผ้า เข้าของทั้งหมดของเรา
อย่างนั้นหรือ? ถ้าเช่นนั้นเราคงจะไม่สามารถปฏิบัติตามคำสอนนี้ได้อย่างแน่นอน “จะทำอย่างไง? ฉันยังผูกพันกับ
สมบัติทั้งหลายของฉันอย่างมาก เช่น นาฬิกาที่สวมอยู่บนข้อมือในตอนนี้ และอะไรต่างๆ อีกเยอะแยะ......” ฉะนั้น
“การสะสมบัติทั้งหมดของท่าน”นั้น จริงๆ หมายาความว่าอย่างไร? จะให้หมายความว่าเราทุกคนต้องเริ่มดำรงชีวิต
เหมือนนักบุญ ฟรังซิส ตั้งแต่บัดนี้ โดยนำสมบัติทั้งหมดของเราไปแจกจ่ายให้กับคนจน อย่างนั้นหรือ? บางทีอาจ
มีบางคนที่คิดว่านี่คือความหมายที่แท้จริงสำหรับเขา ก็เป็นไปได้ และเราก็ได้ประโยชน์จากแบบฉบับบุคคลที่ถือ
ความยากจนทางร่างกายเหล่านี้ แต่ข้าพเจ้าไม่คิดว่า นี่คือความหมายสำหรับทุกคน เพราะมันยากที่จะทำเช่นนั้นได้
นักบุญฟรังซิสคงจะไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ถ้าท่านต้องเลี้ยงดูครอบครัวของท่าน และรับผิดชอบดูแลบุตรของ
ท่าน ไม่ใช่ว่าเราทุกคนจะต้องเป็นฤษี ไม่ใช่ว่าเราทุกคนจะต้องเป็นสันยาสี (Sanyases) ไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้อง
เป็นขอทาน

แต่ข้าพเจ้าคิดว่าความหมายที่แท้จริงก็คือ เราต้องพยายามฝึกฝน “ให้แก่นของหัวใจตัวเองหลุดจากการยึดติดอยู่
กับกิเลสที่ต้องการจะเป็นเจ้าของครอบครองทุกสิ่ง” (Non-possessive to the very core of our being)

ไม่ว่าจะเป็นการอยากครอบครองสมบัติสิ่งของ ตลอดจนการอยากครอบครองจิตใจคนอื่นให้ทุกคน
รอบข้างต้องทำตามใจเรา ฯลฯ
เราต้องหยุดความพยายามที่จะเป็นเจ้าของบุคคล หรืออยากครอบครองสิ่ง
ที่เราบังเอิญครอบครองอยู่ในขณะใดขณะหนึ่ง เราต้องหนักและยอมรับในความเป็นจริงที่ว่าทุกสิ่งที่เราคิดว่าเรา
ได้ครอบครองอยู่ ณ จุดนี้นั้น จริงๆ แล้วเราก็เป็นเพียงแค่การดูแลรักษาสิ่งเหล่านี้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ในตอนนี้
เท่านั้น มันจะไม่ได้อยู่กับเราตลอดกาล
ถ้าเราหมั่นฝึกฝน “การปล่อยวาง” จากการยึดติดอยู่กับสมบัติของเรา และ
มีวิธีการใช้สิ่งเหล่านี้ของเราอย่าง “ปล่อยวาง” ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง บัตรเครดิต และบ้านของเรา ฯลฯ
เราก็จะเป็นคนที่ต่างไปจากเดิมมาก

1คร 7:28
ข้าพเจ้าใคร่จะให้ท่านพ้นจากความยุ่งยากนั้น พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอบอกท่านว่า เวลานั้นสั้นนัก ตั้งแต่นี้ไปผู้ที่มีภรรยาจงเป็นเสมือนผู้ที่ไม่มีภรรยา ผู้ที่ร้องไห้จงเป็นเสมือนผู้ที่ไม่ร้องไห้ ผู้ที่มีความสุขจงเป็นเสมือนผู้ที่ไม่มีความสุข ผู้ที่ซื้อจงเป็นเสมือนผู้ที่ไม่มีสิ่งใดเป็นกรรมสิทธิ์ และผู้ที่ใช้ของของโลกนี้จงเป็นเสมือนผู้ที่มิได้ใช้ เพราะโลกดังที่เป็นอยู่กำลังจะผ่านไป ข้าพเจ้าต้องการให้ท่านปราศจากความกังวล

ฉะนั้น การมีจิตใจที่ไม่อยากจะครอบครอง (To be non-possessive) หมายถึงการฝึกดำรงชีวิตอย่าง ‘ปล่อยวาง’
ไม่ยึดติด (to live “detachment”) นั่นก็หมายความว่า ถ้าท่านมาหาข้าพเจ้าและพูดว่า “ฉันทำนาฬิกาฉันหาย และ
ฉันจำเป็นต้องใช้นาฬิกา ขอนาฬิกาของคุฯให้ฉันได้ไหม?” เมื่อนั้นข้าพเจ้าควรจะสามารถพูดได้ว่า “ได้! เอาไปสิ”
และสามารถทำเช่นนั้นได้ด้วยความยินดีและด้วยจิตตารมณ์แห่งการ ‘ปล่อยวาง’ โดยไม่มีความรู้สึกถึงการถูกบีบ
บังคับแต่อย่างใด วิธีเดียวที่เราสามารถจะฝึกการ ‘ปล่อยวาง’ ได้ในขณะที่ดำรงชีวิตอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงนี้
ก็คือการกลับไปหารากเหง้าของความอยากครอบครองของเรา นั่นก็คือ “อัตตา” ของเรา (Our ego) ถ้าเรา
สามารถปล่อยวาง “อัตตาของเรา” - - - “ละทิ้งตัวตนไว้เบื้องหลัง” ดังที่พระเยซูเจ้าได้ตรัสไว้ - - - เมื่อนั้น
การสละสมบัติทั้งหลายจะเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่สุดในโลก ถ้าเราสามารถละทิ้ง ‘ตัวตน’ ของเราก็จะกลายเป็น
สิ่งที่เราจะแบ่งปันให้ผู้อื่นได้ไม่ยากนัก จริงอยู่ นี่คือบางสิ่งที่เราปฏิบัติได้ในความสัมพันธ์ส่วนตัวในชีวิตของเรา
แต่มันก็ยังเป็นความจริงที่นำเราไปสู่แกนหลักของสังคม - - - ความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อกัน