การมี ใจจดจ่อ (Paying attention)
การทำสมาธิเป็นเรื่องของการฝึกการคุมสติให้
ใส่ใจ หรือมี ใจจดจ่อ (Paying attention)
นั่นถึงได้อธิบายถึงว่า
ทำไมสมองของเราจึงไม่สามารถอยู่นิ่งได้เมื่อเราเริ่มทำสมาธิ ก็เพราะเราคุมสติของเราไม่อยู่นั่นเอง
เราคุมสติของ
เราให้มี ใจจดจ่อ แน่วแน่อยู่กับที่ไม่ได้ เราจึงไม่มีสมาธิ ถ้าหากเราสามารถจะเข้าใจได้อย่างแท้จริงว่า
การให้ความ
ใส่ใจ หรือมี ใจจดจ่อ หมายถึงอะไร โดยจากประสบการณ์ในการทำสมาธิแล้วละก็
เราก็จะเห็นด้วยว่าการทำสมาธิ
มีความหมายและเป็นประสบการณ์ที่ลึกซึ้งที่สุดในชีวิตของเรา และสะท้อนให้เห็นว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลของเรา
อย่างมีความหมาย เพราะจักรวาลคือผลของความสนใจหรือความใส่ใจอย่างสร้างสรรค์
และเต็มไปด้วยความรักที่พระเจ้า
มีต่อเรา เราเกิดมาเป็นมนุษย์ก็เพราะพระเจ้าทรงรักเรา ทรงสนใจใส่ใจในตัวเรา
แม้ตั้งแต่ก่อนที่เราจะรู้ว่าเรามีตัวตน
เสียด้วยซ้ำไป นอกจากนี้ยังมีความหมายโยงไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันของเราในแต่ละวันด้วย
เราสามารถพบพระเจ้า
ในทุกคนรอบข้างเรา โดยการให้ความสนใจเขา และรักเราเหมือนรักตัวเราเอง บางครั้งคนทั่วไปคิดว่าการทำสมาธิเป็น
เรื่องของการสนใจใส่ใจแต่ตัวเอง นั่งเพ่งพิศอยู่กับสะดือตัวเอง เป็นการคิดถึงแต่ตนเอง
เป็นแนวทางการปฏิบัติที่เห็นแก่ตัว
หลีกเลี่ยงและปัดความรับผิดชอบออกไปให้กับผู้อื่น เพื่อสร้างชีวิตฝ่ายจิตของตัวเอง
แต่ข้าพเจ้าคิดว่าใครก็ตามที่เข้าใจใน
วินัยการทำสมาธิอย่างแท้จริงและฝึกความสนใจอย่าง จดจ่อ ในการทำสมาธิแล้ว
ท่านนั้นก็จะตระหนักว่า ท่านกำลังมุ่งส่ง
ใจจดจ่อ กับส่วนลึกที่สุดของตัวตนท่าน ท่านกำลังส่ง
ใจจดจ่อ กับพระเจ้าและ ท่านกำลังให้ความสนใจอย่างจริงใจกับ
เพื่อนมนุษย์ของท่าน
เมื่อเราเริ่มเห็นว่าเรื่องการให้ความสนใจอย่าง
จดจ่อ เช่นนี้เป็นเรื่องธรรมดา และเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ เราก็จะเริ่มเห็น
ว่าการทำสมาธิจะเปลี่ยนชีวิตของเราอย่างไร ลองคิดดูว่า ณ จุดหนึ่งในชีวิตของท่าน
เมื่อท่านกำลังประสบกับปัญหา และ
ต้องการจะระบายความไม่สบายใจกับใครสักคน ท่านไปหาเพื่อนคนหนึ่งที่ท่านวางใจ
และพูดว่า ฉันกำลังกลุ้มใจมาก
ฉันมีบางอย่างที่อยากจะขอคุยด้วยพอมีเวลาขอคุยด้วยได้ไหม? แล้วท่านก็เริ่มพูด
และเขาก็ฟัง สิ่งที่ท่านต้องการให้เขา
ทำจริงๆ คือให้ท่านรับฟังท่าน รับฟังด้วยหัวใจ ให้เขาสนใจท่าน ไม่ใช่เพราะท่านต้องการคำตอบสำหรับปัญหาของท่าน
ถ้าบุคคลนั้นให้ความสนใจแก่ท่านจริงๆ เปิดใจรับฟังท่านจริงๆ เมื่อนั้นท่านจะรู้สึกเบาใจขึ้นท่านจะรู่สึกว่าท่านได้แบ่งเบา
ความทุกข์ทรมานบางอย่างในชีวิตของท่านแล้ว ท่านจะรู้สึกว่ามีกำลังใจมากขึ้น
และมีความหวังมากขึ้น ที่จะรับมือกับ
สถานการณ์ที่ท่านกำลังเผชิญอยู่ แต่ถ้าบุคคลที่ท่านกำลังพูดด้วยนั้น เพียงแต่ให้คำตอบ
บอกวิธีแก้ปัญหา หรือขัดจังหวะ
ท่าน หลังจากที่ท่านเพิ่งจะพูดได้เพียงไม่กี่วินาที และเริ่มต้นเล่าประสบการณ์ของตัวเขาเองให้ท่านฟัง
ถ้าเขาไม่
สามารถให้ความสนใจแก่ท่านได้อย่างเต็มที่ เมื่อนั้น ท่านจะรู้สึกว่า ท่านไม่ได้พูดกับเขา
หรือรู้สึกว่าท่านไม่ได้รับความรัก
จากเพื่อนคนนี้เท่าไหร่นัก
การสนใจหรือการให้ความใส่ใจคือความรัก เมื่อเราแสดงความสนใจหรือใส่ใจต่อใคร
เรากำลังแสดงความรักต่อคนนั้น
และงานใดที่เรากระทำด้วยความสนใจและความมุ่งมั่นใส่ใจอย่างแท้จริงงานนั้นก็จะกลายเป็นกิจการที่สร้างสรรค์และเปี่ยม
เปี่ยมไปด้วยความรัก เราได้รับความรักเมื่อมีใครให้ความสนใจใส่ใจกับเรา
(ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความรักโรแมนติก
แต่หมายถึงความรักที่มนุษย์มีต่อกันด้วยความหวังดี) ในชีวิตสมรส ท่านอาจอยู่กับบุคคลเดิมทุกวัน
ทำกิจวัตรประจำวัน
ร่วมกับเขา แต่ท่านจะพบว่าเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ท่านได้หยุดให้ความสนใจแก่เขา
และแล้วท่านจะตระหนัก
ในทันใดนั้นว่า ความรักได้จางหายไปจากความสัมพันธ์นั้นแล้ว และเมื่อค้นพบเช่นนี้
อนาคตความสัมพันธ์นี้
อาจจะกลายเป็นประสบการณ์ที่น่ากลัวของชีวิตสมรสที่ล้มเหลว ที่สร้างความเจ็บปวดให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้องด้วยได้
มันเป็นประสบการณ์ที่ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า การมีความสัมพันธ์นั้น ไม่ได้หมายถึงแค่การทำกิจวัตรประจำวันร่วมกันเท่านั้น
การมีความสัมพันธ์จริง - - - การรักเพื่อนมนุษย์ - - - - หมายความว่า ท่านมอบแก่นของตนเองให้แก่เขา
โดยการให้ความ
สนใจ หรือการเปิดใจตั้งใจรับฟัง ก็คือการให้ความรักนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นความรักต่อพระเจ้า
ความรักต่อเพื่อนมนุษย์หรือ
การรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง
และแน่นอน
ดังที่เราทุกคนก็ทราบกันดีว่า การให้ความสนใจหรือใส่ใจต่อผู้ใด หรือการหยุดการมี
ใจจดจ่อ สนใจแต่ตนเอง
นั้น เป็นสิ่งที่ยากมาก อย่างเก่งเราสามารถทำได้ระหว่างช่วงเวลาสั้นๆ จากนั้น
เราก็เหนื่อยและเริ่มต้นกลับมาคิดถึงตนเองอีก
ครั้ง เหมือนเส้นหนังสะติ๊กที่ดีดปึ๋งสั้นๆ กลับมาที่เก่า ดังนั้น การเรียนรู้ที่จะให้ความสนใจหรือมี
ใจจดจ่อ จึงเป็นวินัยการฝึก
ตนอย่างหนึ่งและเป็นศิลปะอันยิ่งใหญ่ของการดำรงวชีวิตและการรัก ด้วยเหตุนี้
วินัยแห่งการให้ความสนใจหรือมี ใจจดจ่อ
ในการทำสมาธิ จึงสอนเราให้มีชีวิตอย่างเต็มและอย่างมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น
ด้วยเหตุนี้เอง การทำสมาธิจึงเกี่ยวข้องกับ
การให้ความสนใจหรือการมี ใจจดจ่อ พุทธศาสนิกชน เรียกว่า การมีสติ (Mindfulness)
ธรรมประเพณีคริสต์ศาสนา
เรียกว่า เป็นการดำรงชีวิตใน ขณะปัจจุบัน หรือฝึกหัดรับรู้การประทับอยู่ของพระเจ้าใน
ขณะปัจจุบัน นี่คือ ความหมาย
เมื่อพระเยซูเจ้าตรัสว่า จงตื่น จงรู้ตัวและระวังตัว (Being awake, being
alert) เป็นการเรียนรู้ที่จะตั้งใจกล่าว มันตรา
และเมื่อเราเสียสมาธิ เรียนรู้ที่จะกลับมากล่าว มันตรา ใหม่อีกครั้งอย่างซื่อสัตย์และด้วยความรัก
การทำสมาธิจะเปลี่ยน
วิถีชีวิตของเราได้ด้วยวิธีนี้