คำสอนของพระเยซูเจ้าเรื่องการเพ่งพิศภาวนา (Contemplation)

พระเยซูเจ้าทรงเป็นอาจารย์สอนการเพ่งพิศภาวนา พระองค์ไม่ได้เสด็จไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อพูดถึงการทำสมาธิแบบคริสต์
แต่พระองค์ทรงเป็นอาจารย์สอนการเพ่งพิศภาวนา ถ้าท่านอ่านบทเทศน์บนภูเขาของพระเยซูเจ้า “The Sermon on the
Mount” ซึ่งเป็นแก่นแท้ของคำสอนของพระเยซูเจ้า (ในพระวรสารนักบุญ มัทธิว บทที่ 5, 6 และ 7 ) เมื่อมีคนถาม
พระเยซูเจ้าเรื่องการภาวนา พระองค์ไม่ได้บอกว่า ท่านต้องไปภาวนาที่ศาลาธรรมทุกวันเสาร์ หรือต้องบริจาคเงิน
ถุงทาน หรือต้องเชื่อเรื่องนั้นเรื่องนี้หรือต้องถือตามกฎระเบียบข้อนั้นข้อนี้ของศาสนานั้นหรือของศาสนานี้ หรือ
ต้องถือวันฉลองหรือเทศกาลและระเบียบพิเศษอื่นๆ ของศาสนาของเรา
อันที่จริงพระองค์ไม่ได้เอ่ยถึงการถือกฎ
ระเบียบปฏิบัติของศาสนามากนัก ข้าพเจ้าคิดว่า พระองค์คงคิดว่าผู้คนคงเคร่งศาสนาอยู่แล้วกระมัง

แต่สิ่งที่เราเห็นในคำสอนของพระเยซูเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งที่พระองค์เน้นจริงๆ นั้น ไม่ใช่การปฏิบัติศาสนกิจ
หรือพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งล้วนเป็นเรื่องเปลือกนอก แต่ทรงเน้นที่ “ชีวิตภายใน” (Interiority) โดยมี
รากฐานจาก ประสบการณ์ของ “การเพ่งพิศภาวนา” ก่อนอื่น พระองค์ทรงเตือนเราให้ให้ระวังอันตรายจากการ
ยึดถืออยู่กับ “รูปแบบภายนอก” ของศาสนา การปฏิบัติศาสนกิจภายนอกโดยขาดจิตตารมณ์หรือแก่น
ความลึกภายในใจ
หรืออีกนัยหนึ่ง คือ จงอย่าคิดว่า เพียงเพราะท่านรู้สึกดี ี ที่ท่านได้ปฏิบัติกิจกรรมทาง
ศาสนาบางอย่างแล้ว ท่านก็ได้มีประสบการณ์กับพระเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่า  นั่นคือสิ่งที่พระองค์หมายถึง เมื่อพระองค์
ตรัสถึงการได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้า อย่าคิดว่าท่านได้เข้าสู่ประสบการณ์กับพระเจ้าอย่างแท้จริง
เพียงแค่เพราะท่านคิดว่าท่านได้เคร่งศาสนาหรือศรัทธาอย่างแท้จริง

นั่นเป็นสิ่งที่เราต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่มีการถือศาสนาอย่างสุดโต่ง
Fundamentalism)
และการยึดถือตามประเพณีนิยมภายนอกหรือรูปแบบที่เป็นทางการภายนอก (Formalism) ใช่!
เราอาจรักศาสนาของเรา และเราควรรักศาสนาของเราและเราควรรักที่จะปฏิบัติศาสนกิจ เพราะนี่คือสิ่งสำคัญ
สำหรับเรา พระเยซูเจ้าไม่ได้บอกว่าเราไม่ควรปฏิบัติศาสนกิจ แต่พระองค์ไม่ได้เน้นเรื่องนี้เป็นหลัก
ตรงกันข้าม พระองค์ตรัสว่า “เมื่อท่านภาวนา จงเข้าไปใน ‘ห้องลับส่วนตัวของท่าน’(Your ‘inner room’) ซึ่งก็คือ
หัวใจของท่าน” หรือ อีกนัยหนึ่ง แก่นแท้ของการภาวนาอยู่ที่ภายในใจ (Interiority) และความวิเวก (Solitude)
ความวิเวกในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการแยกตัวเองออกจากผู้อื่น แต่หมายถึงการค้นพบ ‘ตัวตน’ ที่แท้จริงของตัวเรา
และสัมผัสกับความพิเศษไม่เหมือนใครของเรา หรือความเป็นเอกลักษณ์ของเรา พระเยซูเจ้าตรัสว่าท่านต้องเข้า
ไปใน “ห้องลับส่วนตัวของท่าน” อันเป็นพื้นที่ “ภายใน” ของตัวตนของท่านเองและในที่นั่นนั่นแหละที่พระองค์บอก
ว่า ท่านจะได้พบกับการประทับอยู่ของพระเจ้า ในที่นั้นนั่นแหละที่ท่านจะมีประสบการณ์สัมพันธ์โดยตรงกับพระเจ้า
และนี่แหละ คือความหมายของการได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้า

รม 10:8
พระคัมภีร์กล่าวว่าอย่างไร พระคัมภีร์กล่าวว่า พระวาจาอยู่ใกล้ท่าน อยู่ในปากและในใจของท่าน

เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของคำสอนของพระองค์คือ “การวางใจ” (Trust) ในพระเจ้า พระองค์ทรงบอกว่า “เมื่อ
ท่านภาวนา จงอย่าพูดพล่ามซ้ำซาก เหมือนพวกคนนอกรีต ผู้ที่คิดว่าถ้าเขายิ่งพูดมากเท่าไร พระเจ้าจะรับฟังเขา
มากเท่านั้น”
และนั่นเป็นคำพูดที่ชวนให้เราต้องคิด ให้เราต้องตื่นจากภวังค์และไตร่ตรองสำรวจตัวเองให้ดีเพราะ
นั่น คือเรื่องอันตรายที่ยิ่งใหญ่สำหรับคนที่คิดว่าตัวเองศรัทธา ที่เราคิดว่า ยิ่งเราทำกิจกรรมทางศาสนามากเท่าไร
ยิ่งเราทำกิจกรรมทางศาสนามากเท่าไร ภาวนา ไปวัด และทำพลีกรรมมากเท่าไร เราก็จะยิ่งดึงดูดความสนใจของ
พระเจ้าได้มากเท่านั้น ถ้าเราคิดอย่างนั้น พระองค์เตือนเราอย่างแรงไม่ให้ทำเช่นนั้น ทรงบอกว่า “ จงอย่าพูด
ซ้ำซากเหมือนคนนอกรีต จงอย่ากลายเป็นพวก ‘นักวัตถุนิยมฝ่ายจิต’ (Spiritual materialists) อย่าคิดว่าท่านจะ
ซื้อทางเข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ได้ อย่าคิดว่าท่านสามารถซื้อทางเข้าสวรรค์ได้ ด้วยการสวดภาวนามากๆ ‘นักวัตถุ
นิยมฝ่ายจิต’ (Spiritual materialists) อย่าคิดว่าท่านจะซื้อทางเข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ได้ อย่าคิดว่าท่านสามารถ
ซื้อทางเข้าสวรรค์ได้ ด้วยการสวดภาวนามากๆ หรือทำกิจกรรมทางศาสนกิจมากๆ”
ดังนั้น พระองค์จึงทรงขอให้
เราตรวจสอบสำรวจจิตวิทยาด้านศาสนาของเราเองให้ดี อันที่จริง ถ้าศึกษาให้ดี เราจะเห็นว่าพระวรสารทั้งหมด
วิพากษ์วิจารณ์ศาสนาของมนุษย์อย่างรุนแรงไม่ใช่เพียงศาสนายิว แต่ทุกศาสนาที่ฉาบฉวยผิวเผินเน้นแต่ในกรอบ
ภายนอก

แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายาความว่า ให้ท่านเลิกไปวัด หรือเลิกสวดภาวนาแบบอื่น ตรงกันข้าม การภาวนา
แบบอื่นทั้งหลาย เช่น การอ่านพระวรสาร การรับศีลมหาสนิท ฯลฯ จะกลับกลายเป็นสิ่งที่มีพลัง
และมีความหมายมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการทำสมาธิที่มุ่งเน้นตรง “ชีวิตภายใน”นั่นเอง ซึ่งมีผล
ทำให้ท่าน รู้จักตนเองมากขึ้น และสำรวจตนเองอย่างเข้มงวดมากขึ้น ท่านเข้าใจว่าเหตุใดท่านจึง
ทำสิ่งต่างๆ เหล่านั้น และมันมีความหมายจริงๆ อย่างไร ฯลฯ


การฝึกการทำสมาธิ เป็นการมุ่งเข้าไปใน “ห้องส่วนตัว” ในหัวใจของเรา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการยากที่จะหลอกตัวเอง
และนี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราพบว่าการทำสมาธิเป็นเรื่องยาก เพราะบางครั้ง มันยากที่จะเผชิญหน้ากับตัว
เราเอง โดยเฉพาะเมื่อท่านได้ค้นพบว่า แท้จริงท่านได้หลอกลวงตัวเองมาตลอกเวลา หรือได้พยายามปัดฝุ่น
- - - หรือเรื่องที่ไม่อยากจะเผชิญ- - -เข้าไปกลบเกลื่อนซ่อนไว้ใต้พรหมมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ฉะนั้นการเผชิญ
เผชิญกับความเป็นจริงของตนเองจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก การทำสมาธิจะนำแสงสว่างเข้าไปในทุกๆ ที่ที่อยู่ในความ
มืดมาก่อน ทำให้เข้าใจทุกสิ่งชัดเจนขึ้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแสงสว่างเข้าไปในหัวใจของเรา เริ่มสว่างจิตใจและ
พฤติกรรมทุกด้านของเรา และทำให้เราเห็นแรงจูงใจที่แท้จริงในทุกสิ่งที่เราทำ ทำให้เรารู้จักตนเอง และตระหนัก
รับรู้ตัวเองมากขึ้น


และนี่เป็นเหตุที่การทำสมาธิจึงให้ผลในการช่วยชำระศาสนาให้บริสุทธิ์ขึ้นด้วยเสมอ และป้องกันมิให้ศาสนาของ
เรา กลายเป็นเพียงพิธีกรรมภายนอก หรือไปเน้นเรื่องการเชื่อถือเวทย์มนตร์คาถา หรือโชคลาง และเช่นกัน
การทำสมาธิจึงเป็นยาแก้หรือยาถอนพิษ (Antidote) ที่ดีเยี่ยมสำหรับพวกถือศาสนาอย่างสุดโต่งด้วย
(Fundamentalists)
ศาสนาจะกลายเป็นเรื่องการถือโชคลาง ถ้าเราคิดถึงศาสนาและกระทำการภาวนาเหมือน
กับกำลังบีบบังคับพระเจ้า หรือดึงดูดความสนใจของพระเจ้า เพื่อให้ทำบางสิ่งบางอย่างให้กับเราที่เราต้องการ และ
วอนขอ แน่นอน ความเป็นมนุษย์ของเราทำให้เรามีแนวโน้มที่จะกระทำอย่างนั้น แต่เป็นสิ่งที่ พระเยซูเจ้าทรงเตือน
อย่างชัดเจนและอย่างแรงว่า ‘อย่าทำ’พระองค์บอกว่า “อย่าลืมว่าพระบิดาเจ้าทรงทราบแล้วว่าท่านต้องการอะไร
ก่อนที่ท่านจะขอเสียอีก” นี่คือ เรื่อง “ความไว้วางใจ”
เพราะถ้าเรารับฟังจริงๆ ในสิ่งที่พระองค์ตรัส และเข้าใจจริง
และจดจำไว้ เมื่อนั้น วิธีการภาวนาของเราก็จะเปลี่ยนไป

เอาหล่ะ! พระองค์ไม่ได้บอกว่า ท่านไม่ควรพูดถึงความต้องการของท่านออกมาเป็นคำพูด หรือเป็นคำวิงวอน
เพราะนั่นเป็นวิธีตามธรรมชาติของมนุษย์เราที่จะทำ โดยเฉพาะเมื่อใจของท่านกำลังหนักอึ้ง มีเรื่องกังวลใจ
หรือมีปัญหาที่ท่านต้องการจะระบาย หรือแบ่งปันกับผู้อื่นในระหว่างการภาวนา ดังนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ท่าน
ควรแสดงออก ไม่ว่าในช่วงที่ท่านอยู่ตามลำพัง หรือต่อหน้าชุมชนที่กำลังถวายนมัสการเมื่อเราภาวนาสวดให้แก่
กันและกัน หรือสวดให้แก่ชาวโลก เพียงแต่ว่า เราต้องภาวนาจากใจจริง พระเยซูเจ้ามิได้บอกว่าเราไม่ควรทำเช่นนี้
แต่บอกว่า เมื่อท่านทำ จงจำไว้ว่าพระเจ้าได้ทรงทราบทุกอย่างหมดแล้ว นั่นก็หมายความว่า ท่านกำลังบอกเราว่า
เวลาภาวนา จงอย่าพูดมากเหมือนพยายามจะบอกอะไรกับพระเจ้า ยังกับว่ากลัวว่าพระเจ้าจะตกข่าวซีเอ็นเอ็น
(CNN) อย่างนั้น หรือยังกับว่ากลัวพระเจ้าจะเปลี่ยนใจรึเกิดอาการความจำเสื่อมชั่วขณะ ลืมในสิ่งที่เราได้ขอท่าน
ไว้ และปล่อยให้สิ่งที่เป็นปัญหาแย่ๆ เกิดขึ้นกับเรา หรือยังกับว่ากำลังขอพระเจ้าให้ทรงกดปุ่มย้อนหลัง (Rewind
button) เพื่อเปลี่ยนชะตากรรมของเรา หรือขอให้พระองค์ช่วยเหลือเรา ยังกับว่าเราเป็นที่โปรดปรานของพระองค์
มากกว่าคนทั่วไป


นักบุญเปาโล เคยกล่าวประโยคสำคัญมากประโยคหนึ่งว่า “พระเจ้าไม่ได้เข้าข้างใครเป็นพิเศษ” ไม่ว่าจะเป็น
คริสตชนหรือชาวยิวก็ตาม “เราทุกคนได้รับเลือกอย่างเท่าเทียมกัน และพระเจ้าทรงรักเราอย่างเท่าเทียมกัน” ฉะนั้น
เราจึงไม่ภาวนาเพื่อให้พระเจ้าทรงเข้าข้างเรา โดยทำให้ผู้อื่นเสียเปรียบ การภาวนาไม่ใช่เป็นเรื่องของการต่อรอง
และเราจะสามารถเข้าใจได้และระลึกได้ว่า พระเจ้าทรงทราบความต้องการต่างๆ ของเราทั้งหมดอยู่แล้ว

พระเยซูเจ้าตรัสต่อไปอีกว่า ยังมีองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ของการภาวนา เช่น “จงอย่ากังวลใจ จงดูนกบนท้องฟ้า
และดอกลิลี่ในทุ่งนาเถิด อย่ากังวลว่า ท่านจะกินอะไรหรือจะสวมใส่อะไร” พระองค์ไม่ได้บอกว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่
่ความกังวลใจตามปกติในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา แต่พระองค์กำลังบอกว่า “จงอย่าหมกมุ่นอย่ากระวนกระวาย
ใจจนเกินไปในความต้องการทางวัตถุในชีวิต” พระองค์กล่าวว่า ถ้าท่านพบว่าตนเองหมกมุ่น กังวล เครียด เมื่อนั้น
วิธีแก้ไขที่ดีที่สุด คือการหันไปสนใจกับความงามของธรรมชาติ ที่พระเจ้าได้สร้างมา จงมองดูว่าชีวิตนี้มัน
งดงาม
จงมองดูดอกลิลี่ในทุ่งนา และนกบนท้องฟ้า ความงามของชีวิตและความงามของสิ่งสร้างเป็นสิ่งที่เราลืม
ได้ง่ายๆ เมื่อเราปล่อยให้ความกังวลใจเข้ามาครอบงำท่วมทับเรา จนเราไม่เห็นอะไรอย่างอื่นเลย  เราลืมไปว่า
ชีวิตนั้นสดีและสวยงาม และแม้แต่ท่ามกลางความทุกข์ทรมาน เราก็ยังสามารถชื่นชมกับความงามนี้
และความดีงามของชีวิตได้
้และดังนั้น พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า "ให้มองดูนกบนท้องฟ้า และดอกลิลลี่ในทุ่งนา"
เพียงการมองดูอาจยังไม่พอ เราต้องมองให้เห็นด้วย มองให้เห็นความงามอันเรียบง่ายตามธรรมชาติของมัน
เมื่อนั้นเราจะเห็นว่า ชีวิตของเราเองนั้นเป็นพระพร (Gift) อย่างแท้จริงที่พระเจ้าได้ประทานให้เราเปล่าๆ
ท่านจำคำพูดของคุณพ่อ ยอห์น เกี่ยวกับการทำสมาธิได้หรือไม่? คุณพ่อ ยอห์น บอกว่า “ในการทำสมาธิ เรายอม
พระพรแห่ง “ตัวตน” ของเรา (Gift of our being)” เมื่อเราพิจารณาคำสอนฝ่ายจิตเหล่านี้ที่พระเยซูเจ้าได้สอนเรา
เราก็จะเห็นว่าผู้ที่เคร่งศาสนาที่แท้จริงจะเป็นคนที่ได้สัมผัสพระพรแห่ง “ตัวตน” ที่แท้จริง ภายในส่วนลึกของหัวใจ
และด้วยความไว้วางใจอันลึกล้ำ และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นนมัสการอย่างแท้จริงทั้งหลาย