พระมารดาผู้ให้กำเนิด : ในการชุมนุมกันของโปรแตสแตนท์ เรื่องของพระนางมารีย์นั้นถูกหยิบยกมากล่าวถึงน้อยมาก เว้นแต่จากบทเทศน์ หรือ ละคร ที่พูดถึงเรื่องการประสูติของพระเยซู แต่มีนักวิชาการและนักเทศน์หลายท่านได้ให้ความสนใจเรื่องราวของพระนางมารีย์ในช่วงชีวิตต่าง ๆ ของพระบุตรของพระนาง ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์ ถวายพระกุมารที่พระวิหารหลังการประสูติ เหตุการณ์ที่พระนางขอร้องพระเยซูให้เปลี่ยนน้ำเป็นเหล้าองุ่นที่คานา ที่ซึ่งพระนางได้เร่งเร้าให้พระองค์สำแดงการอัศจรรย์ครั้งแรก

ผลงานของกาเวนต้าช่วยจุดประกายให้นักประพันธ์คนอื่น ๆ มีความกล้ามากขึ้น

จากผลงาน “ผู้มีบุญ: มุมมองโปรแตสแตนท์ต่อพระนางมารีย์” (Blessed One : Protestant Perspectives on Mary) ที่ประพันธ์ร่วมกับ ซินเธีย ริจบี้ ได้นำเสนอมุมมองหลายอย่างเกี่ยวกับสตรีเพศ และหนึ่งในนั้น ได้มีการเปรียบเทียบบทบาทของพระนางมารีย์กับแนวคิดอนุรักษ์นิยมเรื่อง “คุณค่าของครอบครัว” และการตีความใหม่ว่าพระนางเก็บสิ่งต่าง ๆ ไว้ในใจของพระนาง และพินิจพิจารณาสิ่งสารพันเหล่านั้น ในฐานะของแม่บ้านที่ขยันขันแข็ง สู่บทบาทผู้ศรัทธาอย่างแรงกล้า และบทบาทของความเป็นมารดา

จากหนังสือ “มารีย์: พระมารดาของพระเป็นเจ้า” (Mary, Mother of God) ที่ประพันธ์โดย บราอเทน และ เจนสัน ได้นำเสนอแนวคิดที่เชื่อว่า “การเรียกพระนางมารีย์ว่าพระมารดาของพระเป็นเจ้า ทำให้เราพึงระลึกได้ว่า พระเยซูเป็นพระเจ้า” ด้วยเหตุนี้เราจะไม่มองพระองค์ตามกระแสโลกแค่ในฐานะ ศาสดาคนหนึ่ง นักปรัชญาคนหนึ่ง หรือ แค่ ครูคนหนึ่ง ศิษยาภิบาลจอร์จเสริมอีกด้วยว่าสิ่งที่เราควรวิตกกังวล มิใช่คาทอลิกอนุรักษ์นิยม

“ไม่ว่าเราจะเป็นคริสตชนนิกายไหน เรามีศัตรูร่วมกัน นั่นคือกระแสโลก วัตถุนิยม การกีดกันแบ่งแยกทางเชื้อชาติ สีผิว และการบิดเบือนพระคัมภีร์”