การสลายตัวของการแผ่รังสี
มีอีกกระบวนการหนึ่งในการวัดที่เรียกว่าครึ่งชีวิต
(half-life) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ระดับการแผ่รังสีของวัตถุลดลงเหลือครึ่งเดียว
สำหรับยูเรเนียม 238 มีครึ่งชีวิตอยู่ที่ 4.5 ล้านปี ดังนั้นเราสามารถหาอายุยูเรเนียมได้ด้วยวิธีนี้
แต่ยกเว้นยูเรเนียม 237 ไอโซโทปส่วนหนึ่งมีครึ่งชีวิต 60-70 วัน ไอโซโทปไหนของยูเรเนียมที่จะนำมานับ
และ ค่าแรกของไอโซโทปแต่ละตัวคือเท่าไหร่ ?
ถ้าเชื่อว่าวิธีนี้สามารถวัดอายุได้อย่างถูกต้อง
เราน่าจะสามารถย้อนกลับไปดูอายุสิ่งต่างๆได้ แต่เมื่อเทียบด้วยวิธีนี้แล้วเราจะพบว่าโลกนั้นร้อนมากจากการแผ่รังสี
เพียงแค่ถอยหลังกลับไป 15,000 ปี โลกก็สภาพที่ไม่น่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้
ถ้าการวิเคราะห์การสลายตัวของอะตอมนั้นถูกต้อง โลกต้องแผ่รังสีอยู่ช่วง
15,000 ปีก่อน และใน ช่วง 12,000-13,000 B.C. ที่สิ่งมีชีวิตไม่น่าจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เลย
กระบวนการทางอะตอมมิคนี้ส่งผลกระทบใดต่อแนวคิดวิวัฒนาการบ้าง
? ถ้านักวิวัฒนาการวิทยาต้องการใช้วิธีทางอะตอมมิคในการวัดอายุความเก่า พวกเขาก็ต้องยอมรับผลที่จะตามมาด้วย
ซึ่งอาจเป็นการหักล้างทำลายทฤษฎีวิวัฒนาการแบบเดิมๆ นักวิทยาศาสตร์กล่าวไว้ว่าจักรวาลกำเนิดระหว่างส่วนผสมของยูเรเนียมและอื่นๆ
แต่ก็อาจมีคำถามว่า ยูเรเนียมและส่วนผสมแรกสุดเกิดขึ้นมาจากไหนละ ? ถ้าไม่มีการสร้าง
หรือ การผสมให้เกิดขึ้นมาก่อน บางทีแนวคิดเรื่องการสร้างของพระเจ้าอาจอธิบายข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดนี้ได้
เราได้ข้อสรุปแบบเดียวกันเมื่อเรานำทฤษฎีมาใช้กับเรื่องสนามแม่เหล็กของโลก
เราสามารถใช้เรื่องสนามแม่เหล็กของโลกในการวัดอายุโลกได้ด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่าเรารู้ว่าสนามแม่เหล็กของโลกลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
ซึ่งถ้าเราอ้างอิงตามแนวคิดนี้เราจะพบว่า โลกเป็นดาวที่เต็มไปด้วยสนามแม่เหล็กในช่วง
8,000-12,000 B.C. สนามแม่เหล็กของโลกสามารถใช้ในการตรวจสอบอายุได้อย่างถูกต้อง
และจากหลักฐานที่ว่าโลกเป็นดาวที่เต็มไปด้วยสนามแม่เหล็กมาก่อน แล้วทำไมจู่ๆดวงดาวที่เต็มไปด้วยสนามแม่เหล็กดวงนั้นถึงกลายมาเป็นโลกอย่างทุกวันนี้ได้
เหมือนเป็นการสร้าง หรือ การจัดการที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน