3. หนทางไปสู่ศาสนาหรือพระเป็นเจ้า
เนื้อหาและวิธีการของวิทยาศาสตร์ในตัวมันเอง
ไม่สามารถนำเราไปถึงพระเป็นเจ้าหรือโลกทัศน์ของศาสนา ถ้าเราไม่ยอมออกจากระบบของวิทยาศาสตร์
ก็ไม่มีทางที่จะพบเหตุผลพอเพื่อส่งเสริมหรือเป็นพื้นฐานของความเชื่อ แต่ไม่ควรสรุปว่าศาสนาหรือความเชื่อเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผลเลย
เราควรจะค้นหาเหตุผลที่อื่น โดยใช้วิธีการแบบอื่น
ที่นี่น่าจะสังเกตว่าชาวตะวันออก ชาวเอเชียโดยทั่วไปแตกต่างจากโลกตะวันตก
เราได้บอกก่อนว่าชาวตะวันตกเน้นเรื่องเหตุผล อย่างมากทีเดียวและเราได้บอกด้วยว่า
นิสัยแบบนี้คงจะเกิดเป็นอุปสรรคต่อศาสนา ก็เมื่อจะถือว่าเหตุผลที่มีคุณค่าและรับได้มีชนิดเดียวคือเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ท่าทีแบบนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้บางคนทิ้งศาสนา
เพราะว่าเขาถือว่าศาสนาไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม
ในวัฒนธรรมของชาวเอเชีย เราพบแนวคิดและวิธีวางตัวอีกแบบหนึ่ง แน่นอนวิทยา-
ศาสตร์ได้เข้ามาในวัฒนธรรมของเอเชีย และได้มีอิทธิพลอย่างมากมายทำให้วัฒนธรรมนั้นเปลี่ยนไปด้วย
อาจจะมีบางคนที่คิดว่าศาสนาและวิทยาศาสตร์เข้ากันไม่ได้ก็จริง แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้คิดแบบนี้
ถึงแม้ว่าวิทยา-ศาสตร์และเทคโนโลยีได้พัฒนาขึ้น แต่ศาสนายังไม่ได้สลับไป
เมื่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ต้องมีพิธีทางศาสนาในวันเปิดโรงงานนั้น ถ้าสายการบินซื้อเครื่องบินใหม่จะมีพิธีทางศาสนาเสกเครื่องบินใหม่นั้นด้วย
ยิ่งกว่านั้นอีกมีบางคนที่มีความรู้ ความสามารถสูงในด้านวิชาการระดับปริญญาเอกแต่ยังปฏิบัติตามรูปแบบของประเพณีเดิม
ซึ่งอาจจะขัดแย้งกับความรู้ด้านวิชาการ การปฏิบัติแบบนี้ที่ทำให้ศาสนาและวิทยาศาสตร์อยู่พร้อมกันแสดงว่าระบบวิทยาศาสตร์และระบบศาสนาอยู่คนละระดับ
ไม่ขัดแย้งกัน ถ้าวิทยาศาสตร์ใช้เหตุผลเป็นหลักสำคัญ ศาสนาคงใช้ความรู้สึกมากกว่า
ศาสนาเป็นส่งที่ทำให้เกิดความสบายใจมากกว่าวิทยา-ศาสตร์ เทคโนโลยีใหม่คงจะนำความสะดวกก็จริง
แต่ความหมายของชีวิตหรือโลกทัศน์โดยทั่วไปมาจากศาสนา และการประกอบพิธีทางศาสนานั้นเป็นวิธีช่วยให้เข้ากับโลกทัศน์
ให้เข้าที่ในระบบของจักรวาลและสังคม การประพฤติแบบนี้ในอีกแง่หนึ่งอาจจะแสดงว่า
ศาสนาไม่ค่อยต้องการหลักหรือพื้นฐานในด้านเหตุผลแต่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกมากกว่า
ไม่ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์ก็จริง แต่คงขาดความมั่นคงในตัวเอง เพราะมันขาดพื้นฐานด้านเหตุผล