ในโลกตะวันตกปัจจุบัน
ทั้งนักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญามีความสำนึกมากขึ้นถึงขอบเขตจำกัดของวิทยาศาสตร์
ในงานค้นคว้านักวิทยาศาสตร์มีประสบการณ์โดยตรงกับขอบเขตจำกัดนี้ ถึงแม้ว่าเขาจะสามารถอธิบาย
และให้เหตุผลเกี่ยวกับเหตุการณ์ ต่างๆ ของโลกมากขึ้น แต่เขาต้องพบเหตุการณ์บางอย่างที่เขารู้ว่าจะอธิบายไม่ได้
ตราบใดที่เขาใช้วิธีการเฉพาะของวิทยา-ศาสตร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกครั้งที่เขาจะพยายามเข้าใจว่าทำไมเหตุการณ์ต่าง
ๆ นี้ไปตามทางใดทางหนึ่ง ถ้าจะบอกว่ามันเกิดมาอย่างนี้โดยบังเอิญก็เท่ากับว่าไม่ตอบ
เรื่องของวิวัฒนาการเป็นตัวอย่างที่ชัดที่สุด นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายถึงกระบวนการของมันคือมันเกิดขึ้นอย่างไร
แต่เมื่อจะสงสัยว่าทำไมวิวัฒนาการนี้มุ่งไปถึงชีวิตที่สมบูรณ์ขึ้นทุกทีจนถึงชีวิตมนุษย์เอง
เขาไม่มีคำตอบจำเป็นต้องใช้เหตุผลหรือวิธีการคิดแบบอื่น ต้องอาศัยวิธีการของปรัชญา
เพราะว่าวิทยาศาสตร์ขาดข้อมูลที่จะตอบปัญหานี้ได้ ประสบการณ์แบบนี้ช่วยยอมรับว่าความรู้ของเรามีหลายรูปหลายวิธี
วิธีการของวิทยา-ศาสตร์ไม่เป็นวิธีเดียว ถึงแม้ว่าจะมีประสิทธิภาพมากในเขตของมัน
แต่ยังจำเป็นต้องยอมรับและเคารพวิธีการอื่น ๆ และสุดท้ายวิทยาศาสตร์และศาสนาจะอยู่ด้วยกันได้
เมื่อจะเคารพเอกลักษณ์ของแต่วิธีการรู้
Teilhard de Chardin เป็นนักปราชญ์คนหนึ่งของสมัยปัจจุบันที่ได้ช่วยให้วิทยา-ศาสตร์และศาสนาคืนดีกัน
ท่านได้ศึกษาค้นคว้าในด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องของวิวัฒนาการ
และท่านได้แสดงว่าข้อมูลหรือข้อสรุปต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์นี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อความเชื่อถึงพระเป็นเจ้า
ยิ่งกว่านั้นอีก กลับมาเป็นหนทางช่วยให้มีความเข้าใจและความรู้ที่ถูกต้องมากขึ้นเกี่ยวกับพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลก
วิทยาศาสตร์ไม่ได้พิสูจน์ว่าไม่ต้องมีพระเป็นเจ้า
แต่กลับมาเป็นวิธีแสดงว่า พระองค์ทรงสร้างโลกจักรวาล พืช สัตว์ และมนุษย์
โดยอาศัยพลังที่มีอยู่ในธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของธรรมชาติเป็นวิธีการที่พระเป็นเจ้าทรงใช้เพื่อจะสร้างโลก
ให้มีรูปแบบที่เราเห็นทุกวันนี้