DNA บรรจุภาษาพันธุกรรม

ลองมาพิจารณาถึงแบบแผนของ"ภาษา"พันธุกรรมสักหน่อย. เราเรียกมันว่า "ภาษา" เพราะมันประกอบด้วยพื้นฐานหลักของ ตัวอักษร หรือ กลไกการเข้ารหัส, ไวยากรณ์ (การจัดวางตำแหน่งที่แน่นอนของคำ) , ความหมาย ( สัญลักษณ์) และจุดประสงค์ที่จำเพาะเจาะจง

นักวิทยาศาสตร์พบว่ารหัสพันธุกรรมมีสิ่งที่เป็นพื้นฐานเหล่านี้ครบถ้วน ดร.สตีเฟน เมเยอร์ ให้อรรถธีบายว่า รหัสที่อยู่ใน DNA มีคุณสมบัติเหมือนกับรหัสหรือภาษาของคอมพิวเตอร์ทุกประการ" (อ้างอิงจาก Emphasis in Original หน้า 237, โดย Lee Strobel)

รหัสที่เป็นภาษาอย่างแท้จริงนั้นพบว่ามีแต่ในมนุษย์เท่านั้น รหัสของสิ่งมีชีวิตอื่นยังไม่อาจนับเข้าเป็นภาษาได้ ถึงแม้ว่าเราจะเห็นสุนัขเห่าเวลาที่รู้สึกถึงอันตราย, ผึ้งเต้นรำเพื่อบอกเพื่อนของมันให้รู้ทิศทางของอาหาร และปลาวาฬส่งเสียงร้อง นี่เป็นการสื่อสารของสิ่งมีชีวิตในสปีชี่อื่น แต่มันมีโครงสร้างส่วนประกอบของการสื่อสารที่ไม่ใช่ภาษา แต่เป็นเพียงการส่งสัญญาณการสื่อสารในระดับต่ำเท่านั้น.

การสื่อสารประเภทเดียวเท่านั้นที่ถือได้ว่าเป็นภาษาขั้นสูง คือภาษาของมนุษย์, ภาษาของคอมพิวเตอร์,รหัสมอร์ส และรหัสพันธุกรรม. ยังไม่พบว่ามีการสื่อสารระบบอื่นนอกจากนี้ที่มีพื้นฐานหลักของการเป็นภาษาดังกล่าว.

บิล เกท เจ้าพ่อวงการคอมพิวเตอร์ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ กล่าวว่า " DNA ก็เหมือนโปรแกรมซอฟท์แวร์ เพียงแต่มีความสลับซับซ้อนมากกว่าสิ่งประดิษฐ์ใดๆที่เราคิดค้นขึ้นมา"

ลองจินตนาการถึงอะไรที่สลับซับซ้อนยิ่งกว่าการทำงานของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งเกิดขึ้นมาโดยบังเอิญอาศัยการวิวัฒนาการดูซิ - จะต้องใช้ระยะเวลานานเพียงใด , ต้องเกิดการผ่าเหล่าสักกี่ครั้งและต้องผ่านการเลือกสรรทางธรรมชาติเป็นจำนวนสักเท่าใดจึงจะเกิดสิ่งนั้นขึ้นมาได้?

ภาษา DNA กับ โมเลกุล DNA เป็นคนละอย่างกัน

จากการศึกษาในเรื่องทฤษฎีข้อมูล ทำให้สามารถสรุปสาระบางอย่างที่ยังความประหลาดใจ นั่นคือ, ข้อมูล ไม่สามารถจัดเป็นเรื่องเดียวกับ สสารและพลังงาน. ถูกต้องที่สสารและพลังงาน สามารถนำพาข้อมูลไปได้ แต่มันก็เป็นคนละสิ่งกับ ตัวข้อมูลเอง

ยกตัวอย่าง, หนังสือนิยาย "อิเลียด" ของโฮเมอร์ มีข้อมูลบรรจุอยู่ แต่ตัวหนังสือเองเป็นข้อมูลหรือ? ไม่ใช่, สสารของหนังสือ - กระดาษ, หมึกและกาวประกอบกันเป็นเล่มหนังสือ, แต่มันเป็นเพียงเครื่องมือและวิธีการที่จะสื่อสารเท่านั้น

แต่เมื่อข้อมูลในหนังสือถูกอ่านดังๆ , ถูกเขียนด้วยชอล์ก หรือพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ตัวข้อมูลไม่ถูกทำให้เปลี่ยนแปลงหรือถูกรบกวนให้คุณภาพเสียหายไปด้วยวิธีการส่งผ่านข้อมูลแต่อย่างใด. ศาสตราจารย์ ฟิลิป จอห์นสัน กล่าวว่า " อันที่จริงเนื้อหาของสาส์น เป็นอิสระเอกเทศจากสิ่งที่เป็นกายภาพของสื่อ" (อ้างอิง: Defeating Darwinism by opening Minds,1997, p. 71 )

หลักการอันเดียวกันนี้ก็ปรากฏอยู่ในรหัสพันธุกรรมด้วยเช่นกัน โมเลกุล DNA เป็นตัวนำภาษาพันธุกรรม แต่ภาษาพันธุกรรมเป็นอิสระเอกเทศจากสื่อตัวนำของมัน ข้อมูลพันธุกรรมอันเดียวกันนี้สามารถเขียนลงในหนังสือ, บรรจุไว้ในแผ่นดิสก์ หรือส่งไปทางอินเตอร์เนท, โดยที่คุณภาพหรือเนื้อหาสาระของสาส์นข้อมูลนั้ไม่เปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการส่งข้อมูล

ตามความคิดของ จอร์จ วิลเลี่ยม, พันธุกรรมเป็นที่สำหรับบรรจุข้อมูล, ตัวมันเองไม่ใช่ข้อมูล รูปแบบของการจับคู่เบสใน โมเลกุล DNA ระบุถึงลักษณะพันธุกรรม แต่โมเลกุล DNA เป็นแต่เพียงสื่อตัวนำเท่านั้น, ไม่ใช่สาส์นข้อมูลโดยตรง (อ้างอิง: Johnson, p' 70 )