ข้อมูลพันธุกรรมกำเนิดมาจากสติปัญญาที่ปรีชาฉลาด

ข้อมูลขั้นสูงนี้ย่อมมีแหล่งกำเนิดมาจากสติปํญญาที่ชาญฉลาดเท่านั้น

ลี สโตรเบลให้อรรถธิบายว่า "ข้อมูลของรหัสแห่งชีวิตนี้ มิได้ไร้ระเบียบแบบแผน มันไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายๆเหมือนกับผลึกของเกลือ แต่มิความสลับซับซ้อนและข้อมูลที่จำเพาะเจาะจง ที่สามารถทำให้ผลงานอันน่ามหัศจรรย์สำเร็จสมประสงค์ได้ การสร้างสรรค์เครื่องจักรชีวะนั้นเป็นสิ่งที่นอกเหนือความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้" (p. 244)

ยกตัวอย่าง : ความแม่นยำของภาษาพันธุกรรมมีความผิดพลาดในอัตราเฉลี่ยน้อยกว่า 1 ใน 10 พันล้านตัวอักษร. ถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นในส่วนที่สำคัญที่สุดของรหัสซึ่งอยู่ในพันธุกรรม, อาจเป็นเหตุทำให้เกิดโรคโลหิตจางขึ้นได้. นักพิมพ์ดีดมือดีที่สุดในโลกก็ยังไม่สามารถทำได้ใกล้เคียงกับความผิดพลาดเพียง หนึ่งใน 10 พันล้านตัวอักษร นี้ได้เลย ยังห่างไกลมาก.

ดังนั้นความเชื่อที่ว่า รหัสพันธุกรรมได้รับการวิวัฒนาการอย่างช้าๆตามทฤษฎีของดาร์วินนั้น เป็นการแหกกฎทุกอย่างของธรรมชาติ,สสารและพลังงาน อันที่จริง,ยังไม่เคยมีตัวอย่างที่ระบบกลไกข้อมูลหนึ่งภายในเซลส์ที่ค่อยๆวิวัฒนาการกลายเป็นระบบข้อมูลที่ทำหน้าที่อื่นได้เลย.

ไมเคิล เบเฮ ศาสตราจารย์และนักชีวะวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ได้บรรยายเรื่องข้อมูลพันธุกรรมเป็นพื้นฐานหลักของคำสั่งพันธุกรรมและได้ให้ตัวอย่างเอาไว้ดังนี้.

เขาเขียนไว้ว่า : "ลองพิจารณาทีละขั้นตอนของคำสั่งทางพันธุกรรม. การผ่าเหล่าเป็นการเปลี่ยนเฉพาะบรรทัดเดียวในจำนวนหลายบรรทัดของคำสั่งพันธุกรรมนั้น ดังนั้นแทนที่จะพูดว่า , "จงเป็นลูกนัทขนาด 1/4 นิ้ว" , การผ่าเหล่าจะบอกว่า "จงเป็นลูกนัทขนาด 3/4 นิ้ว" หรือแทนที่จะบอกว่า "จงวางลูกกลมลงในรูกลม" ก็จะกลายเป็น "จงวางลูกกลมลงในรูเหลี่ยม" ... สิ่งที่การผ่าเหล่าไม่สามารถทำได้ก็คือการเปลี่ยนคำสั่งทั้งหมดในขั้นตอนเดียว - เช่น, (คำสั่ง) จงสร้างเครื่องFAX แทนที่จะเป็น วิทยุ" (อ้างอิง : Darwin's Black Box, 1996, p. 41)

เพราะฉะนั้นเราจึงมีรหัสพันธุกรรมที่มีคำสั่งที่สลับซับซ้อนมหาศาลที่ถูกออกแบบโดยสติปัญญาอันปรีชาฉลาดมากกว่ามนุษย์

แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบรหัสพันธุกรรมผู้หนึ่งคือ ฟรานซิส คริก ซึ่งไม่เชื่อเรื่องพระเป็นเจ้าและได้เสียชีวิตไปเมื่อเร็วๆนี้ หลังจากได้ศึกษาเพื่อถอดรหัสนี้เป็นเวลานับสิบปี, ก็ยอมรับว่า "คนที่ซื่อสัตย์ซึ่งมีความรู้ทุกอย่างเท่าที่จะหาได้ในปัจจุบัน ก็ต้องพูดในทำนองนี้ว่า , จุดกำเนิดของชีวิต นับเป็นเรื่องที่เกือบเป็นการอัศจรรย์, ต้องมีสภาวะหลายสิ่งหลายอย่างเหลือเกินที่อำนวยให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้"(Life Itself, 1984, p. 88 )